การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา The Development of Training Curriculum on Integrated Learning Unit Construction Based on Sufficiency Economy for Graduate Students

Main Article Content

สุธาทิพย์ งามนิล Suthathip Ngamnin

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดทำหน่วยการเรียนรู้บรูณาการบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2560  ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ด้วยวิธีการจับฉลากโดยมีหน่วยการสุ่มคือสาขาวิชาเอก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ  1) แบบสอบถามความต้องการฝึกอบรม 2) หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) แบบทดสอบวัดความรู้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และ4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมาย โครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรม  ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม แนวการจัดกิจกรรมฝึกอบรม  สื่อและวัสดุประกอบการฝึกอบรม การวัดและประเมินผล และแผนการฝึกอบรม  ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  67  2. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พบว่า   2.1 นักศึกษามีความรู้เรื่อง การจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   2.2 นักศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมในระดับมากที่สุด (x= 4.51, S.D.= 0.20)  


           The purposes of this research were 1) to develop a training curriculum on integrated learning unit construction based on sufficiency economy for graduate students and 2) to study the effect of using the training curriculum on Integrated Learning Unit construction based on sufficiency economy for graduate students. The samples in this research were 32 graduate students, Curriculum and Instruction Program at Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University in the second semester, Academic Year 2018. The samples were selected by simple random  sampling with a random subject group of students. The research instruments consisted of  1) a questionnaire 2) a training curriculum on integrated learning unit construction based on sufficiency economy for graduate students 3) a 30 item with multiple choice achievement test with a reliability of  0.92  and 4) a set of questionnaire asking about graduate students’ satisfaction. The data were analyzed in terms of percentage, means, standard deviation and t-test.  The result of research were as follows: 1.a training curriculum on integrated learning unit construction based on sufficiency economy for graduate students consisting of principles and rationale, aims, structures of training curriculum, time of training, processes of training ,training media, mesurement and evaluation ,and training plans for learning activities was. An evaluate on quality of the training curriculum reveals that overall the training curriculum is suitable at the highest level (x= 4.67)  2. a training curriculum on integrated learning unit construction based on sufficiency economy for graduate students was found, according to the prescribed criterion, to contain the following effectiveness:  2.1 The achievement of  graduate students after training by using training curriculum on integrated learning unit was significantly higher than before learning at .05.  2.2 All graduate students expressed a “highest” level of satisfaction from participation in the training curriculum (x= 4.51, S.D.= 0.20)

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทัศนีย์ นิลประดิษฐ์.(2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ศิลปะบนกระจกเงา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.

มนูญ ชัยพันธ์. (2548). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

พิริยา สีสด .(2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.

พระมหาเนตร ดอกมะกล่ำ. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2549). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. สรุปจากปาฐกถาพิเศษในการสัมมนายุทธศาสตร์การสื่อสารในการเผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จัดโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2549 ณ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช.

รุ่งนภา นุตรวงศ์และคณะ. (2553). สรุปผลการวิจัยนำร่องการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2560, จาก https://www.curriculum51.net/upload/20100421153724.pdf

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่: The Knowledge Center.

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Maslow, A.H. (1970). Motivation and Personality. (2 ed). New York: Haper and Row.

Taba H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World Inc.