ปัจจัยเหตุที่ส่งผลต่อการชำระเงินคืนกู้ยืมและความผูกพันต่อองค์กรของลูกหนี้สินเชื่อเพื่อการศึกษาในประเทศไทย The Factor that effect of Loan Repayment and Employee Engagement of Account Receivable of Educational Loan in Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการชำระเงินคืนกู้ยืมของลูกหนี้สินเชื่อเพื่อการศึกษาในประเทศไทย 2) ศึกษาอิทธิพลของการชำระเงินคืนกู้ยืมที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของลูกหนี้สินเชื่อเพื่อการศึกษาในประเทศไทย และ 3) สร้างแบบจำลองปัจจัยเหตุที่ส่งผลต่อการชำระเงินคืนกู้ยืมและความผูกพันต่อองค์กรของลูกหนี้สินเชื่อเพื่อการศึกษาในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ลูกหนี้สินเชื่อเพื่อการศึกษาในประเทศไทยที่เป็นพนักงานองค์กรเอกชน และมีการชำระคืนเงินกู้ยืมตามปกติ จำนวน 560 คน ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยเป็นทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)
ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยทัศนคติของลูกหนี้ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ของลูกหนี้ และความอยู่ดีมีสุข
ทางการเงิน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการชำระคืนเงินกู้ยืมของลูกหนี้สินเชื่อเพื่อการศึกษาในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2) การชำระเงินคืนกู้ยืมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์กรของลูกหนี้สินเชื่อเพื่อการศึกษาในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3) แบบจำลอง (Model) มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนทั้ง 6 ดัชนีที่ผ่านเกณฑ์การยอมรับ คือ ค่าดัชนี df = 1.439, CFI = 1.00, GFI = 0.96, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.028 และ SRMR = 0.013
Article Details
References
______. (2561). ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม2561, จาก https://www. studentloan.or.th index.php/news/detail/228/
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์ทางสถิติ:เพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลีญา อ้นทองทิม และคณะ. (2555). กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 2(2), 161-172.
ทรายทอง เลิศเปียง. (2557). พฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ของนักศึกษาสาขาการบัญชีคณะบริหารธุรกิจ โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 4(6), 15-26.
วรณัฏฐกานต์ นุชพุ่ม. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการชำระหนี้บัตรเครดิต ธนาคารพาณิชย์ไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพฯ.
วิชิต อู่อ้น. (2011). การวิจัยและสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล. (2559). แนวทางการตามหนี้ กยศ. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2561
จาก https://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=60/
สำนักข่าวทีเอ็นเอ็น. (2559). เสียงสะท้อนผู้กู้ กยศ.กับมาตรการยึดทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.youtube.com/watch?v=2uoWo5j-51Y/.
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2557). การศึกษาหนี้สินของครัวเรือนเกษตรและขนาดของเงินกู้ที่เหมาะสม.สืบค้นวันที่ 22 เมษายน 2561, จาก https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER5/DRAWER094/GENERAL/DATA0000/00000569.PDF.
อาริษา โพชนุกูล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการผิดชำระหนี้บัตรสินเชื่อเกษตรกร ธ.ก.ส. สาขาระโนด จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา
Abu Bakar, E., Masud, J. & Jusoh M.Z. (2006). Knowledge, attitude and perceptions of university students towards educational loans in Malaysia. Journal of family and economic issues. 27(4), 692-701.
Ajzen, I. & Fishbein, M. (1980a). Attitude-behaviour relations: a theoretical analysis and review of empirical research. Psychological bulletin. 84 (5), 888.
A. Yayla and Q. Hu, (2007). User acceptance of e-commerce technology: A meta-analytic comparison of competing models. Presented at ECIS 2007, St Gellen, Switzerland, September 10-14, 179-190.
Barbara O'Neill. (2018). Here are small steps to improved financial well-being. Retrieved September 18, 2018, from https://www.njherald.com/20180225/here-are-small-steps-to-improved financial wellbeing#//.
BenefitEd. (2017). Employee benefit. Retrieved September 30, 2017, from https://www.2020employeebenefits.com/ ways-employers-can-increase-employee-retention-ameritas-insight/.
Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: An introduction to theory and research. Reading, MA: Addison-Wesley.
Ismail, S. (2011). Students' attitude to educational loan repayments: a structural modeling approach. Doctoral dissertation. Brunel University, UK.
Manstead, A.S.R., Proffitt, C. & Smart, J.L. (1983). Predicting and understanding mothers’ infant-feeding intentions and behaviour: testing the Theory of Reasoned Action. Journal of personality and social psychology. 44, 657–671.
Nkomazana, N., Sibanda, M., & Duve, R. (2015). DETERMINANTS OF FINANCIAL KNOWLEDGE AMONG ADOLESCENTS. Studia Universitatis Babes-Bolyai. 60(2), 55-65.
Robinson, D., Perryman, S. and Hayday, S. (2004), The Drivers of Employee Engagement, Institute for Employment Studies, Brighton.
Shafinar, I., Antoaneta, S., & Satwinder, S. (2011). Integrative model of students' attitude to educational loan repayment: A structural modelling approach. Journal of International Education in Business. 4(2), 125-140.
Shen, H. and Ziderman, A. (2009). Student loans repayment and recovery: international comparisons, Higher education, 57, 315–333.
Talent Intelligence. (2017). Is Student Loan Debt Your Biggest Employee Engagement Threat?. Retrieved September 20, 2018, from https://www.talentintelligence.com/.
Wong, E., et al. (2017). Education Loan Repayment and Performances: The Malaysian Graduates Perspectives. Account and Financial Management Journal. 2(6), 788-797.
Zarina Denan, et al. (2015). The Theory of Planned Behavior and Self-Identity Factors Drive Graduates to Be Indebtedness. International Journal of Social Science and Humanity. 5(4), 343-346.