รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการประเมินการเรียนรู้ของครูช่างอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบร่วมมือรวมพลัง The Competency Development Model for Learning Assessment of Industrial Teachers under the Office of the Vocational Education Commission by Using the Collaborative Research

Main Article Content

สิรภัทร จันทะมงคล และคณะ Sirapat Juntamongkol and Others

Abstract

                   การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพปัญหาการประเมินการเรียนรู้ของครูช่างอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ2)พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการประเมินการเรียนรู้ของครูช่างอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบร่วมมือรวมพลัง แหล่งข้อมูลระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน และครูช่างอุตสาหกรรม จำนวน 400 คน แหล่งข้อมูลระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ครูช่างอุตสาหกรรม และฝ่ายวิชาการ จำนวน  27 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้   1. สภาพปัจจุบันการประเมินการเรียนรู้ มี  6 ด้าน ได้แก่  1)การกำหนดจุดประสงค์ 2)การกำหนดภาระงาน 3)การออกแบบ 4)การดำเนินการ 5)การให้ข้อมูลป้อนกลับ และ6)การนำผลการประเมินไปใช้ และส่วนสภาพปัญหาการประเมินการเรียนรู้มี 7 ด้าน ได้แก่ 1)ภาพรวม 2)การกำหนดจุดประสงค์3)การกำหนดภาระงาน 4)การออกแบบ 5)การดำเนินการ 6)การให้ข้อมูลป้อนกลับ และ7)การนำผลการประเมินไปใช้    2. ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า รูปแบบมีลักษณะเป็นแผนภูมิโครงสร้างที่แสดงถึงกระบวนการในการพัฒนาสมรรถนะการประเมินการเรียนรู้ของครูช่างอุตสาหกรรม มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ การวัดและประเมินผล และปัจจัยและเงื่อนไขของความสำเร็จ


                   The purposes of this research were 1) to explore the current condition and problems about learning assessment of industrial teachers under the Office of the Vocational Education Commission and 2) develop the model for learning assessment of industrial teachers under the Office of the Vocational Education Commission by using the collaborative research. The first set of data was from 5 administrators and 400 industrial teachers. The second set of data was from 27 experts, administrators, industrial teachers, and academic administration staff. The research instruments were questionnaire, interview, and record form for development model. The data were analyzed by using frequency, percentage, and content analysis. The research findings are shown below.   1. The current condition can be divided into 6 aspects: 1) determining purposes, 2) assigning workload, 3) designing, 4) operating, 5) giving feedback, and 6) using assessment results. Regarding the problems about the learning assessment, there were 7 aspects: 1) overview, 2) determining purposes, 3) assigning workload, 4) designing, 5) operating, 6) giving feedback, and 7) using assessment results.  2. Regarding the development of model, it was found that the pattern of the model was a structural chart that showed the process of developing competency in learning assessment of industrial teachers. There were 6 components: principles, objectives, roles of stakeholders, competency development process, measurement and evaluation, and factors and conditions of success.

Article Details

Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2557. เล่ม 132 ตอนพิเศษ. 82 ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2545). รายงานผลการดำเนินงานโครงการนำร่องระดับชาติเรื่อง กระบวนการปฏิรูปเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้: การประเมินและการประกัน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรีการพิมพ์: วีทีซีคอมมิวนิเคชั่นส์.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และคณะ. (2552). อิทธิพลของกลยุทธ์ การแลกเปลี่ยนความรู้ และการถ่ายโอนความรู้ที่มีต่อความสำเร็จของการร่วมมือรวมพลังระหว่างมหาวิทยาลัย. จุฬาลกรณ์มหาวิทยลัย, กรุงเทพฯ.

พันธุ์ทิพย์ รามสูตร.(2540). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: พี เอ แอลลิฟวิ่ง.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). ปรัชญาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารุณี ลัภนโชคดี. (2557). การพัฒนาระบบการวัดและประเมินเพื่อการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศจี จิระโร. (2556). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสร้างข้อสอบของครูโดยการเสริมพลังอำนาจผ่านกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2543). การประเมินการเรียนรู้ : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานผู้อำนวยการศึกษาแห่งชาติ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2546). นโยบายการประเมินผลการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. ในสุวิมล ว่องวาณิช (บรรณาธิการ). การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (25631). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). รายงานประจำปีผลการประเมินสมรรถนะการวัดและประเมินผล. กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2556). ระเบียบว่าด้วยการจัดการศึกษาและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). รายงานสรุปกลุ่มย่อยประชุมผลักดันการพัฒนาคุณภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งสายอาชีพ. กรุงเทพฯ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ในสถานศึกษา. วารสารวิชาการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 13: 29-33.

อุทุมพร จามรมาน. (2545). ข้อสอบ : การสร้างและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

Costley, C., Elliott, G. & Gibbs P. (2013). Collaborative Research In:Doing Work based Research: Approaches to Enquiry for Insider-Researchers. Sage research methods, (pp. 102-114).

Jacobs, Lucy C. (2004). How to write better tests. Retrieved 27 April, 2014, http://indiana.edu/~best/ pdf_docs/better_tests.pdf/. [Accessed 17 November 2018].

Kemmis, S. & Mctaggart, R. (2000). Participatory action research. In N. Denzin & Y. Lincoln (Eds.), Handbook of qualitative research (2nd ed., pp.567-605). Thousand Oaks, CA: Sage.

Ladwig G. (1991). Is collaborative research exploitative?, educational theory, spring. 41: 2.

Miller, M. D., Linn, R. L. & Gronlund, E. N. (2009). Measurement and Assessment in Teaching. NJ: Pearson Education Group.

Ololube, N.P. (2008). Evaluation competencies of professional and non-professional teacher in Nigeria. Studies in educational evaluation, 34: 44-51.