ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย Factors Affecting Corporate Social Responsibility Behavior of Thailand Small and Medium Size Enterprise Entrepreneurs

Main Article Content

อนุวัตร จุลินทร และคณะ Anuwat Julintron and Others
ดุษฎี โยเหลา
เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ

Abstract

                  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (CSR) ของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย โดยใช้แบบจำลองที่พัฒนามาจากทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของไอเซน ที่มีตัวแปรเชิงสาเหตุ ได้แก่ เจตนาในการทำ CSR เจตคติในการทำ CSR การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และ ความรับรู้ความสามารถในการทำพฤติกรรม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมสาขาอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุด 6 อันดับแรกเรียงตามลำดับสัดส่วนรายได้ประชาชาติของ SMEs จำนวนอุตสาหกรรมละ 85 ราย รวมทั้งสิ้น 510 ราย สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจะได้แก่แบบวัดตัวแปรตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบจำลองสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72  จากแบบจำลองโครงสร้างเชิงสาเหตุที่ใช้ในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) เจตนาในการทำ CSR เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการทำ CSR ของ SMEs ไทย 2) เจตคติในด้าน CSR เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการทำ CSR  และ 3) ความรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลทั้งทางตรงต่อพฤติกรรมการทำ CSR และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านเจตนาในการทำ CSR ทั้งนี้ ไม่พบว่าการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเป็นปัจจัยที่สามารถใช้ในการอธิบายพฤติกรรมการทำ CSR ของผู้ประกอบการ SMEs ของไทยได้


               The objective of this research is to study the corporate social responsibility (CSR) behavior of small and medium enterprises (SMEs) in Thailand utilizing models based on the Ajzen’s Theory of Planed Behavior with causal determinants including intention to conduct CSR, attitude towards CSR, subjective norm and perceived control behavior. The samples were obtained from small and medium-sized industrial enterprises in the six most important industrial sectors in term of SME’s national income which sampling of 85 entrepreneurs from each industry totaled of 510 companies. The Theory of Planed Behavior questionnaire was used as a tool for data collection concerning factors affecting CSR behavior of Thailand’s SMEs. The data was analyzed by structural Equation Model utilizing LISREL version 8.72.  The study found that 1) Intention to conduct CSR was the factor that directly influence CSR behavior of Thai SMEs 2) Attitude regarding CSR was the factor that indirectly influence CSR behavior through Intention to conduct CSR and 3) Perceived Control Behavior was the factor that directly influence to CSR behavior.  Nonetheless, Subjective Norm cannot use to explain CSR behavior of Thai SMEs.

Article Details

How to Cite
Anuwat Julintron and Others อ. จ. แ., โยเหลา ด., & ไสยสมบัติ เ. (2019). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย: Factors Affecting Corporate Social Responsibility Behavior of Thailand Small and Medium Size Enterprise Entrepreneurs. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 14(2), 87–98. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/185816
Section
Dissertations

References

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2554). แผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

Ajzen, I. (1985). From intentions to actions: A theory of planned behavior. In Action control: From cognition to behavior (pp. 11-39). Berlin: Springer-Verlag.

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.

Ajzen, I. (2011). Behavioral interventions: design and evaluation guided by the theory of planned behavior. In the Social psychology for program and policy evaluation (pp. 74–100). New York: Guilford.

Carroll, A. B. (1973). Managerial implications of a social responsibility ethic. Academy of Management Proceedings, 1973(1): 613–618, 1973(1), 613–618.

Carroll, A. B. (1979). A Three-dimensional conceptual model of corporate performance. The Academy of Management Review, 4(4): 497-505.

Egels-Zandén, N., & Kallifatides, M. (2009). The UN Global Compact and the enlightenment tradition: A rural electrification project under the aegis of the UN Global Compact. Corporate.