ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผ่านการสร้างสื่อจำลอง ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สำหรับเด็กปฐมวัย The Effects of Phenomenon-Based Learning Experience Provision Through Media Simulation Creation on the Spatial Ability for Young Children

Main Article Content

รวินันท์ สัจจาศิลป์ Rawinun Sajjasin
ชลาธิป สมาหิโต Chalatip Samahito

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผ่านการสร้างสื่อจำลองที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ของเด็กปฐมวัย ประชากรในการวิจัยได้แก่เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนชุมชนวัดมาติการาม จังหวัดชัยนาท  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผ่านการสร้างสื่อจำลอง จำนวน 32 แผน ซึ่งมีคุณภาพด้านความเที่ยงตรง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และแบบประเมินความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยซึ่งมีลักษณะเป็นแบบปฏิบัติการมีค่าคุณภาพด้านความเที่ยงตรง (IOC) เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                 ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การสร้างสื่อจำลองตามแนวการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เท่ากับ 7.34 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 4 หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เท่ากับ 13.47 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 2.62 โดยเด็กปฐมวัยสามารถบอกตำแหน่งบน ล่าง นอก ใน หน้า หลัง ได้ดีกว่า ตำแหน่งซ้ายหรือ ขวา


                The objectives of this research the effects of  phenomenon-based learning provision through media simulation creation on spatial ability for young children. The population used in this research consisted of ง47 male and female preschool children ranging from ง5-6 years old and were studying in kindergarten level ง2 at Wat Matikaram Community School, Chai Nat province, in the ง2nd semester, ง2018.  The research instruments included ง32 phenomenon-based learning plans through creating simulated media which has the quality of accuracy (IOC) between ง0.67-1.00and the assessment form of spatial ability operating model with the quality of accuracy (IOC) equal to ง1.00.  The obtained data was analyzed by mean and standard deviation                    


                  The results showed that the children who received phenomenon-based learning experience provision through media simulation creation had higher spatial ability posttest scores than the pretest ones.   Children were able to tell the position of on, under, outside, inside, front, and back better than the left and the right positions.

Article Details

Section
Dissertations

References

กัญญชลา ศิริชัย. (2549). ผลของการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ที่มีต่อความสามารถ ในการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

กุลยา เจริญมงคลวิไล. (2555). ผลการเรียนแบบผสมผสาน วิชา การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีต่อความสามารถในการมองภาพมิติสัมพันธ์ต่างกัน. Veridian E-Journal Silpakorn University, 5 (2): 585-597.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุ๊คส์.

แก้วตา ริวเชี่ยวโชติ. (2555). ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ที่ได้จากการทำกิจกรรมละเลงสี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

คนึง สายแก้ว. (2552). เอกสารการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

คันธรส วงศ์ศักดิ์. (2553). ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต(การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ชลาธิป สมาหิโต. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39 (1): 113-129.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจวรรณ ขุนทวี. (2557). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2553). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิด. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1 (ง1): 97-124.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2554). พหุปัญญา มองคุณค่าทุกความแตกต่าง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สาราเด็ก.

รวินันท์ สัจจาศิลป์, ชลาธิป สมาหิโต และ ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการสร้างสื่อจำลอง 3 มิติสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(2): 34-42.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ใน เอกสารประกอบการสอน วิชา EDEC ง201 สาขาการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี ตามสมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการสร้างตามวัย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Gardner, H. (ง1993). Multiple Intelligence :The Theory In Practice. New York: Basic Books.

Silander, P. (ง2015). Phenomenon-Based Learning. Retrieved May ง28, 2018, from http://www.phenomenaleducation.info/phenomenon-based-learning.html.

Vygotsky, L.S. (ง1978). Mind in Society: The Development of Higher psychological Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.