การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ตรรกศาสตร์และการให้เหตุผล สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี The Development of Computer Assisted Instruction on the Topics of Logic and Reasoning for Under Graduate Students at Udonthani Rajabhat University

Main Article Content

ชยานนท์ ฮมแสน Chayanon Homsaen
สุปรีชา วงศ์อารีย์ Supreecha Wongaree

Abstract

            การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ตรรกศาสตร์และการให้เหตุผล ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ร้อยละ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการคิดและการตัดสินใจ ของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการคิดและการตัดสินใจ ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2560 จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ตรรกศาสตร์และการให้เหตุผล  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การวิจัยครั้งนี้คำนวณด้วยข้อมูลร้อยละ (%) การหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent


                ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชาการคิดและการตัดสินใจ เรื่อง ตรรกศาสตร์และการให้เหตุผล มีค่าเท่ากับ 83.00/88.47 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า หลังจากการเรียนการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการคิดและการตัดสินใจ พบว่าอยู่ในระดับมาก คือ ด้านเนื้อหาและการเรียนรู้ต่อบทเรียน  (gif.latex?\bar{\chi&space;}= 3.95) และด้านสุนทรียภาพ (gif.latex?\bar{\chi&space;}= 3.92)


              The Purposes of this research were: 1) to develop Computer – Assisted Instruction (CAI) lesson for a course in thinking and decision making on logic and reasoning in order to meet an efficiency of 80/80, 2) to compare the learning achievement of the students between before and after implementing learning by the CAI, and 3) to explore the satisfaction of the students towards the implementation of the learning by the CAI. The research samples consisted of 42 students of Udonthani Rajabhat University who enrolled in the Course: Thinking and Decision Making in the second semester of the 2017. The research instruments to obtain the data were Computer – Assisted Instruction (CAI), achievement test and questionnaire. The research design was one group pretest- posttest design. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and t-test dependent.


                The results of this study were as follow:1)The efficiency of the computer-assisted instruction program on the topic of Logic and Reasoning was 83.00/88.47, which met the set efficiency criterion of 80/80. 2) The students’ learning achievement before and after implementing by the CAI were statistically significant different at .001 level after implementing learning by the CAI, average scores were higher than before implementing learning by the CAI. And 3) The student’ satisfaction towards the implementation of the learning by the CAI are whole were at a high agreement level, it was found that the item receiving the highest rating mean for satisfaction was that on learning form the lesson (gif.latex?\bar{\chi&space;}= 3.95), followed by that on aesthetics aspect (gif.latex?\bar{\chi&space;}= 3.92).

Article Details

How to Cite
Chayanon Homsaen ช. . ฮ., & Supreecha Wongaree ส. ว. (2019). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ตรรกศาสตร์และการให้เหตุผล สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี: The Development of Computer Assisted Instruction on the Topics of Logic and Reasoning for Under Graduate Students at Udonthani Rajabhat University. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 14(2), 31–44. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/187859
Section
Research Articles

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2550). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2548). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI). (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโนลีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พรินติ้ง.

นุสรา เดชจิตต์. (2557). ผลของการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบแก้ปัญหา เรื่อง การคูณที่มีต่อความสามารถในการ แก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(2): 433-435.

วาสนา ทองดี. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

วัชระ เยียระยงค์. (2549). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

สายฝน แสนใจพรม. (2553). การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องพฤติกรรมทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาหลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุปรีชา วงศ์อารีย์. (2558). การคิดและการตัดสินใจ. อุดรธานี: สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

อรจิรา สอนสกุล. (2551). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง คำราชาศัพท์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.

อรนุช ลิมตศิริ. (2544). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน. (ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Gagne, R. (1985). The Conditions of Learning. 4th ed. New York: Rinehart & Winston.

Saowapha Wichadee. (2011). Learners' Learning Styles : The Perspectives from the theory of Experiential Learning. Executive Journal. Bangkok : BU Printing.

Wassana Thongdee. (2010). The Development of Computer - Assisted Instruction on Body Systems Lesson for Mathayomsuksa 2 student of Suantangwittaya School, Suphanburi Province. An Independent Study. Master of Education. Educational Technology. Silpakorn University.