การพัฒนาระบบสารสนเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย Development of a Field Experience Information System, Faculty of Management Science, Loei Rajabhat University
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน และจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล MySQL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 10 ท่าน ผู้ใช้งานระบบที่เป็นนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 238 คน และผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 323 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1) ผลการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ผู้วิจัยได้นำเทคโนโลยี Responsive Web Design มาใช้ในการออกแบบหน้าจอและพัฒนาในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และทำการอัพโหลดเว็บไซต์และฐานข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วนคือ (1) ส่วนของผู้ใช้ทั่วไป (2) ส่วนของนักศึกษาและบุคลากรคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2) ผลการประเมินความเหมาะสมระบบสารสนเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของผู้เชี่ยวชาญ ส่วนคุณภาพจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.08 มีความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบที่เป็นนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 และมีความพึงพอใจของผู้ใช้งานทั่วไปโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32
The purposes of this research were as follows: 1) to design and develop the field experience information system, faculty of management science, Loei Rajabhat university; 2)to evaluate the satisfaction of the users towards the field experience information system, faculty of management science, Loei Rajabhat university. The field experience information system, was developed in the form of web application and the data were stored in MySQL database. The samples of this study consisted of 10 experts, 238 users who were Loei Rajabhat university students and personnel, 323 general users. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results of the study were : the field experience information system, which had the good quality according to the experts’ evaluation at the highest level Its mean and standard deviation were 4.59 and 0.08 respectively. The Satisfaction of the users who were Loei Rajabhat university students and personnel; was in high level with the mean score of 4.42 and the standard deviation of 0.37. The Satisfaction of general users was in high level which had mean was 4.40 and standard deviation was 0.32.
Article Details
References
กัณทิมา ศิริจิระชัย. (2551ข). คู่มือสหกิจศึกษา 2552-2553 สำหรับสถานประกอบการ. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2559). การพัฒนาเว็บไซต์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาด้วยระบบบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์.วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(38): 59-74.
ธนินทร์ ระเบียบโพธิ์ และ นายเอกชัย แซ่จึง. (2557). การพัฒนาระบบจัดการการเรียนการสอนแบบ m-Learning. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นวลปราง แสงอุไร. (2551). ระบบสารสนเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ). มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, นครศรีธรรมราช.
บุญเกื้อ ครุธคำ. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
ภณิดา ชัยปัญญา. (2541). ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อกิจกรรมไร่นาสวนผสมภายใต้โครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรของจังหวัดเชียงราย. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาส่งเสริมการเกษตร). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ภัคคิณี จัยพงศ์ และคณะ. (2555). การพัฒนาสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์เรื่องประเพณีวัฒนธรรมจีนในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(20): 137-148.
มนัสนันทน์ บุญปาลวงศ์ และไกรสร รวยป้อม. (2554). ระบบสารสนเทศในการจัดทำข้อมูลการฝึกงานนักศึกษาภายนอก : กรณีศึกษา สาขาระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันตก.
วาสนา เพ็งทองหลาง. (2556). ทำการวิจัยเรื่องความพึงพอใจของหัวหน้าสถานประกอบการ เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ที่มีต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
วัชรชัย วิริยะสุทธิวงศ์. (2560). ระบบบริหารจัดการงานวิจัยมหาวิทยาลัย. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) , 9(17): 114-126.
ศิริพล แสนบุญส่ง. (2559). การพัฒนาเว็บไซต์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาด้วยระบบบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(12): 117-128.
Campbell A. Subjective measure if will-being. Am Psychol 1976; 31(1): 117-24.
Karlsson, j. (2014). Responsive web design with CSS frameworks. UPPSALA UNIVERSITET.
Wainer H. and Braun,H.I. Test Validity. U.S.A. Lawrence Erlbaum Associates, Inc.,1988.
Yadav, P., Barwal, P. N., (2014). Designing Responsive Websites Using HTML And CSS, International Journal of Scientific & Technology Research, 3(11): 152-155.
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.