การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะไอออนิก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังแนวคิด The Development of Scientific Conception about Ionic Bonding of Matthayomsuksa 4 Student through Inquiry Based Learning Concept Mapping Combination
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังแนวคิด เรื่อง พันธะไอออนิก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะไอออนิก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังแนวคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านไร่วิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับร่วมกับแผนผังแนวคิด เรื่องพันธะไอออนิก 2) แบบวัดแนวคิด เรื่องพันธะไอออนิก มีค่าความยากรายข้ออยู่ระหว่าง 0.35 - 0.72 และค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.21 – 0.58 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน 4) แบบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ของครู
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาบริบทการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังแนวคิด เรื่อง พันธะไอออนิก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีนักเรียนมากกว่าร้อยละ 50 ของทั้งหมด กล่าวถึงข้อดีของบริบท การจัดการเรียนรู้ คือ การทำงานเป็นกลุ่มและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การจัดกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และการสรุปความรู้โดยการเขียนแผนผังแนวคิด
2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังแนวคิด มีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะไอออนิก ถูกต้องมากขึ้นกว่าก่อนเรียน โดยพบว่า หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ นักเรียนร้อยละ 44.50 มีแนวคิดถูกต้อง (SU) รองลงมาร้อยละ 34.00 มีแนวคิดถูกต้องบางส่วน (PU) ร้อยละ 9.50 มีแนวคิดถูกต้องบางส่วนและคลาดเคลื่อนบางส่วน (PU/SM) ร้อยละ 7.62 มีแนวคิดคลาดเคลื่อน (SM) และร้อยละ 4.38 ไม่มีแนวคิด (NU) และนอกจากนี้พบว่า ก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย 1.60 คะแนน หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 42.20 คะแนน และเมื่อคำนวณหาคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ได้เท่ากับ 69.52 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มพัฒนาการระดับสูง
The purposes of the research were 1) to study the context of inquiry based learning in combination with concept mapping on ionic bonding of Matthayomsuksa 4 students. 2) to study the development of Matthayomsuksa 4 students’ scientific conception of ionic monding through inquiry based learning in combination with concept mapping, The sample group consists of 40 Matthayomsuksa 4 students studying in second semester in the academic year of 2018 at Banraiwitthaya School, selected by cluster random sampling. The research instruments used in this study were 1) lesson plan of ionic bonding through inquiry based learning in combination with concept mapping 2) the Ionic Bonding’s Concept Test which had the difficulty level of 0.35 - 0.72, the discrimination power of 0.21 - 0.58 and reliability of 0.88 3) the students’ learning log and 4) the teachers’ reflective journals.
The results of this research were as follows:
1. The study of an inquiry based learning context in corporated with the concept mapping on ionic bonding of Matthayomsuksa 4 students showed that over 50% of the students mentioned advantages of the learning management context in the student learning record, in descending order, learning through working in groups and exchange of ideas, practicing, a variety of activities, and summarizing knowledge by concept mapping.
2. Matthayomsuksa 4 students who received inquiry based learning in combination with concept mapping had more accurate scientific concept of ionic bonding than before studying. It was revealed that after precipitating in the learning the students of 44.50% had complete understanding (SU), 34.00% had partial understanding (PU), 9.50% had partial understanding with some specific misconception (PU/SM), 7.62% had specific misconception (SM) and 4.38% had no understanding (NU). In addition, it was found that before learning the students have scientific concept with an average score of 1.60 compared to after learning they have higher average score of 42.20. The calculated relative development score was 69.52 points, which is classified as a high-level development group.
Article Details
References
นรา เขียวละลิ้ม. (2556). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังแนวคิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
นันทยา ศรีขาว. (2556). การพัฒนาแนวคิดและเจตคติต่อวิชาเคมีเรื่องเคมีอินทรีย์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
บัญญัติ ชำนาญกิจ. (2550). วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5Es. วารสารวิชาการบัญฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2(4), 1-10.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2552). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: NECTEC โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.
ประภาศรี เอี่ยมสม. (2558). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ โดยวิธีสอนแบบกรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคการใช้แผนผังแนวคิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ปวีณา ตระหนี่, และศุภชัย ทวี. (2557). ผลการสอนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(25), 137-150.
สิริมา มิ่งเมือง. (2560). ผลการการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้เทคนิคแผนผังความคิดเพื่อพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 7(13), 139-153.
สุรเดช ศรีทา. (2554). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดในคนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Ault, C.R. (1985). Concept Mapping as a Study Strategy in Earth Science. Journal of College Science Teaching, 15 (1), 38 - 44.
Brown, S. and S.Salter. (2010). Analogies in science and science teaching. Advances in Psychological Education, 34(1), 167-169. Retrievrd March 20, 2017, from https://advan.physiology.org/content/34/4/167
Callanhan, J. F., et al. (1998). Teaching in the Middle and Secondary School. 3 rded. New York: Macmillan.
Haidar, A. H. (1997). Prospective chemistry teachers’ conception of conservation 0f matter and related concept. Journal of Research in Science Teaching 29 (January), 51-61.