ความสามารถและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณในเนื้อหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 Critical Thinking Ability and Process in Physics on the Topic of Linear Motions of 10th Grader Students

Main Article Content

วัชรพล จันทรวงศ์ Watcharapon Chantarawong
ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล Chaninan Pruekpramool

Abstract

                  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และกระบวนการคิดของนักเรียนที่สะท้อนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในเนื้อหาฟิสิกส์  เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดลพบุรี จำนวน 3 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 116 คน ทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในกลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณแตกต่างกันจำนวน 10 คน


                ผลการวิจัยพบว่า 


                1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 40.52 และระดับควรปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 59.48   


                2. เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบของความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4 ด้าน พบว่า ด้านการอุปนัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการตัดสินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและการสังเกต ด้านการนิรนัย และด้านการระบุข้อตกลงเบื้องต้น 


                3. นักเรียนส่วนใหญ่ขาดการใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นตอน บางส่วนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการหาคำตอบ แต่ยังคงขาดความสอดคล้อง ความน่าเชื่อถือ และเหตุผลที่เพียงพอที่จะทำให้คำตอบเป็นที่ยอมรับ  


                   This research aimed to study the critical thinking ability and process in physics on the topic of linear motions of 10th grader students. The samples used in this study were 116 students from three classrooms in science and mathematics program who were studying in grade 10 in the first semester of 2019 academic year of a school in Lop-Buri province, Thailand. Both quantitative and qualitative data were collected in this study. The research instruments were the critical thinking ability test on the topic of linear motions and semi-structured interview protocol about student’ critical thinking process. The interview was conducted with 10 students who had different levels of critical thinking ability.


                 The results were as follows: 


                 1. There were 40.52 % of the 10th grader student gained critical thinking ability score at a medium level and 59.48% of students gained critical thinking ability score at an unsatisfied level.


                 2. Considering four components of critical thinking ability, the 10th grader earned the highest mean score in induction, followed by credibility, deduction and identifying assumptions. 


                 3. Most students lack of using thinking process. Some student showed their critical thinking ability of finding the answer, but they need to provide the consistency, reliability and sufficient reasons to make the answer acceptable.

Article Details

Section
Academic Articles

References

กฤษณา โลหการก. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสารเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ชมพูนุช จันทร์แสง. (2558). ผลของการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(4), 455-469.

ธรรมราช บุญทิพย์เจริญ. (2553). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาจิตวิทยาการแนะแนว). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วันวิสาข์ อ๊อกจินดา. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้คำถามระดับสูงประกอบกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ศราวุธ จอมนำ. (2557). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่องอัตราส่วนและร้อยละที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและคุณลักษณ์ใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ศารทูล อารีวรวิทย์กุล. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). คู่มือการใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์ ฉบับอนาคต. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.ipst.ac.th/files/curriculum2556/ManualScienceM1.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

อภิชาต พยัคฆิน. (2557). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบ 2(PCA) ในหน่วยการเรียนรู้สหวิทยาการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(27), 77-90.

อัญนิกานต์ ทิพยการย์สิริ. (2560). การสำรวจลักษณะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 32-43.

Dewey, J. (1933). How We Think. New York: D.C. Heath and Company.

Ennis, R. H., Millman, J., & Tomko, T. N. (1985). Cornell Critical Thinking Tests. California: Midwest Publications.

Ennis, R. H. (1993). Critical Thinking Assessment. Theory into Practice, 32(3), 179-186.

French, A. P. (1998). The Nature of Physics. Retrieved May 27, 2019 https://www.univie.ac.at/pluslucis/Archiv/ICPE/B1.html

Norris, S. P., & Ennis, R. H. (1989). Evaluation Critical Thinking. California: Midwest Publication Critical Thinking Press.