ผลการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบผสมผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์ สำหรับครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะการเข้าสู่วิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพะเยา Supervision Outcomes of Active Learning Management by Using Professional Learning Community and Social Network for the Teachers in the Teacher Production Project for Local Development in the Career-entry Stage, under the Office of Basic Education School, Phayao Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบผสมผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะการเข้าสู่วิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพะเยา และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบผสมผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะการเข้าสู่วิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ มีลักษณะเป็นแบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การสรุปอุปนัย การคำนวณค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบผสมผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์ฯ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 1) ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) วิธีการแก้ปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) ข้อดีและข้อจำกัดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) แนวทางการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ 2. ครูมีความพึงพอใจต่อการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบผสมผสานเครือข่ายสังคมออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งในภาพรวมและรายด้าน
The purposes of this research were to 1) explore the supervision outcomes of active learning management by using professional learning community and social network for the teachers in the teacher production project for local development in the career-entry stage, under the Office of Basic Education School, Phayao Province and 2) investigate the satisfaction of the teachers towards the supervision of active learning management by using professional learning community and social network for the teachers in the teacher production project for local development in the career-entry stage, under the Office of Basic Education School, Phayao Province. The sample of the study was a group of 30 teachers. They were chosen by using purposive sampling. The research instruments were a structured interview and a questionnaire, based on Likert’s five-rating scale. The data were analyzed by using content analysis, inductive analysis, mean, and standard deviation.
The findings were as follows: 1. Regarding the supervision outcomes of active learning management by using professional learning community and social network, it consisted of 5 aspects: 1) problems occurred during the learning activity management, 2) the solutions of problems in learning activity management, 3) the outcomes of learning activity management, 4) benefits and limitations of learning activity management, and 5) guidelines for the development of learning activities. 2. The satisfaction of the teacher towards the supervision of active learning management by using professional learning community and social network, both overall and each aspect, was at the highest level.
Article Details
References
2. ณัฐวัฒน์ วงศ์วิลาสนุรักษ์. (2553). การสร้างตราเฉพาะบุคคลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์สมยัใหม่ (Social Media: Tool for Enhancing Business Competency). วารสารนักบริหาร. 30(4), 99 – 105.
3. ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. (2550). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา : บทบาทของครูกับ Active Learning. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2562, จาก https://genedu.kku.ac.th.
4. ทัศวรรณ คำทองสุข. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ : การวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. เนาวนิตย์ สงคราม. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อสร้างองค์ความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์บัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. รายงานการวิจัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. ปิยะทิพย์ สุริยันต์. (2558). รูปแบบการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ฐานชุมชนในรายวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์พ้นถิ่น สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. พรรณทิพย์ เกษเจริญคุณ. (2559). ปัญหาการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา
8. พัชรา แย้มสำราญ และสุเทพ อ่วมเจริญ. (2560). กระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 12(2), 103-115.
9. วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
10. วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พลับลิเคชั่น.
11. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวิศึกษาภาคเหนือ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). รายงานผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/2maU6Ba.
12. สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การเสริมสร้าง ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนการนิเทศ แบบให้คำชี้แนะ (Coaching). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา.
13. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.
14. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
15. สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ, สุขวสา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม,. การศึกษาผลการใช้ระบบนิเทศฝึกงานออนไลน์. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 4(2), 366 – 376.
16. อัญชุลี อุดรกิจและพงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2559). สภาพและปัญหาในการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราธานี. 16(1), 279-292.
17. เอกนฤน บางท่าไม้. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนในระดับอุมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 37(1), 93-118.
18. Costa and Garmston. (2002). Developing Minds, A Resource Book for Teaching Thinking. (3rd ed.). The United States of America: Association for Supervision and Curium Development.
19. Safko, L. & Brake, D. K. (2010). Social media bible. Hoboken, NJ: Johnwiley & Sons.
20. Thorne, K. (2003). Blended learning: how to integrate online and traditional learning. London: Kogan Page.