โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตและพัฒนาครู โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยง และการวิจัยเป็นฐาน ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลางตะวันออก ปีที่ 2 A Research and Development of Teacher Preparation Process and Enhancement by Integrating Contemplative Education, Mentoring and Coaching and Research-based Learning in Rajabhat Universities’ Faculties of Education in the Eastern Part of Central Thailand: A Second -Year Project
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการผลิตและพัฒนาครู โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยงและการวิจัยเป็นฐาน ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 2) ศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการใช้กระบวนการผลิตและพัฒนาครู กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคกลางตะวันออก จำนวน 234 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 194 คน และอาจารย์นักวิจัย/อาจารย์นิเทศก์ จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากความสมัครใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถามและการทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีอุปนัย รวมทั้งหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการผลิตและพัฒนาครู ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ 1) การสร้างความตระหนัก 2) การสร้างความรู้ความเข้าใจ 3) การโค้ชนักศึกษา 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 5) การถอดบทเรียน 2. ผลที่เกิดขึ้นมีดังนี้ 2.1) อาจารย์นักวิจัย/อาจารย์นิเทศก์ มีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยงและการวิจัยเป็นฐาน และนิเทศโดยใช้การโค้ช และ 2.2) นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ CCR มากกว่าร้อยละ 80 มีคุณลักษณะความเป็นครูและมีความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก 2.3) ครูพี่เลี้ยงมีความรู้ความเข้าใจ CCR ร้อยละ 79.17 และมีความสามารถนิเทศโดยใช้การโค้ช อยู่ในระดับมากที่สุด
This research was aimed to 1) develop teacher preparation process and enhancement by integrating contemplative education, mentoring and coaching and research-based learning in Rajabhat Universities’ faculties of education; and 2) examine the outcomes of the study; The target group included volunteers of 234 fifth-year student teachers, 194 mentors and coachers, and 36 instructors, the academic year 2018 in 7 Rajabhat Universities. Data, collected by focus group, observation, interview, questioning and testing, were analyzed in terms of induction, percentage, mean and standard deviation.
Findings revealed that: 1. The teacher preparation process and enhancement consisted of: 1) The building of awareness 2) Development of knowledge 3) The mentoring 4) Knowledge sharing and 5) Lessons learned 2. The outcomes of the study were : 2.1) The instructors were managed learning activities, and supervised learning by using coaching 2.2) The student teachers’ learning achievement was over 80% They had qualities of being teachers and were able to classroom action research at a high level. 2.3) The teacher mentors’ learning achievement was 79.17% They were able to supervise student teachers by using coaching at a very high level.
Article Details
References
Wong ,K., &Nicotera, A.(2003). Enhancing teacher quality: Peer coaching as a professional development strategy preliminary synthesis of the literature. Vanderbilt University .Publication Series No. 5