ผลการจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอสที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 The Effect of SSCS Learning Management on Mathematical Problem-Solving Ability and Learning Achievement of The Fourth Secondary School Students

Main Article Content

ทศพล ศีลอาภรณ์ Tossapon Silaporn

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอสกับเกณฑ์ร้อยละ 70  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอส และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอสกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างของวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนร่องตาทีวิทยา อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอส แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว และมีการทดลองก่อนหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test for dependent samples และ t-test for one sample


             ผลการวิจัยพบว่า  1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอส มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอส มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเอสเอสซีเอส มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


              The purposes of this research were to 1) compare mathematical problem solving ability of the 4th secondary school students after being organized SSCS learning with 70 percent, 2) compare the achievement of the 4th grade of secondary school student before and after being organized SSCS learning and 3) compare the achievement of the 4th secondary school students after being organized SSCS learning with 70 percent. The samples of this study were the 4th grade students at Rongtatee Witthaya School. They were selected by using cluster random sampling technique. The research instruments were the SSCS learning management’s plan, the mathematical problem solving test and the achievement test. The one-group pretest-posttest design was used for this study. The data were analyzed by using t-test for dependent samples and t-test for one sample.


              The results of this research were:  1. The 4th secondary school student’s mathematical problem – solving ability after managed SSCS learning management was higher than 70 percent at the .05 level of significance.  2. The 4th secondary school student’s achievement after managed SSCS learning management was higher than before managed the learning at the .05 level of significance.  3. The 4th secondary school student’s achievement after managed SSCS learning management was higher than 70 percent at the .05 level of significance.

Article Details

Section
Dissertations