การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 The Study of Learning Achievement, Science Process Skills and Satisfaction by Using Learning Activities on Local Medicinal Herbs for Mathayomsuksa 2 Students

Main Article Content

กฤตฏ์ ชมภูวิเศษ Krits Chompuwiset
พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ Patcharin Chompuwiset

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์  และ 4) ศึกษาความพึงพอใจโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 2 ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนท่าบ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดหนองคาย จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .72  3) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .86 4) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า     1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีประสิทธิภาพ  81.08/79.23  สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.80 คะแนน และ 23.77 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน  มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 11.83 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.86  และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนหลังเรียนของนักเรียน พบว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4)  ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน  โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.06)


                This research aims to study on, 1)The development of Learning activities on local medicinal herbs, 2) Comparison of academic achievement before and after learning, 3) Comparison of science process skills after studying according to the criteria and 4) The satisfaction on learning activities on local medicinal herbs for Mathayomsuksa 2 students. The sampling group chosen with cluster random sampling was Mathayomsuksa 2 students from Thabo School under Nong Khai Primary Educational Service Area, during semester 2, academic year 2018 (N=35). The research tools included 1) learning plan focusing on learning activities on local medicinal herbs, 2) achievement test in science focusing on local medicinal herbs with the reliability value of .72,  3) evaluation of science process skills with the reliability value of .86, and 4) satisfaction on learning activities on local medicinal herbs with the reliability value of .88. The statistical tools used in analyzing were percentage, mean, standard deviation, and t-test.  It was found that: 1) The competency standard for the learning plan focusing on learning activities on local medicinal herbs was effective, showing 81.08/79.23 which was higher than the determined standard of 75/75. 2) Scores from the achievement test before and after the learning activities on local medicinal herbs of  Mathayomsuksa 2 students were approximately 12.80 and 23.77 respectively. Comparing these scores, it was clear that the students performed a significantly higher learning achievement after the activities, with statistical significance of .05. 3) The evaluation of science process skills focusing on local medicinal herbs of  Mathayomsuksa 2 students before and after the activities gave the mean score of 11.83, whose percentage was 79.86. Comparing the score after the learning activities with the standard percentage of 75, it was clear that the students performed a significantly higher achievement in science process skills after the activities, with statistical significance of .05. 4)The satisfaction of Mathayomsuksa 2 students on the learning activities on local medicinal herbs was overall at high (gif.latex?\bar{x}= 4.06).

Article Details

How to Cite
Krits Chompuwiset ก. ช., & Patcharin Chompuwiset พ. ช. (2020). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2: The Study of Learning Achievement, Science Process Skills and Satisfaction by Using Learning Activities on Local Medicinal Herbs for Mathayomsuksa 2 Students. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 15(2), 29–42. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/240603
Section
Research Articles

References

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพ ฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ร.ส.พ.

คณะอนุกรรมการการปฏิรูปการเรียนรูป. (2543). ปฏิรูปการเรียนรูปผู้เรียนสําคัญที่สุด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว การพิมพ์.

เครือวัลย์ แสงโสดา. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพในอ่างเก็บน้ำคลองลำกง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์.(2545). เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 8-15. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธวัชชัย สันติสุข, ธวัชชัย วงศ์ประเสริฐ, ดวงใจ ศุขเฉลิม, ราชันย์ ภู่มา และกรมป่าไม้. (2544). สรุปผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพป่าในเขตร้อนและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

นิภาภรณ์ วงศ์สวัสดิ์. (2559). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสัตว์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2(2), 32-40.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2556). นวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : อา.เอส.พริ้นติ้ง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ : สุริวิยาสาส์น.

________. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2556.

ประเสริฐ สำเภารอด. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง ระบบนิเวศในโรงเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ปวีณา ชาลีเครือ. (2553). การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์บูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

เพ็ญจันทร์ สุนทราจารย์. (2535). ความสามารถในการพูดของเด็กก่อนเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประสานมิต.

__________. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พัตตาวัน นาใจแก้ว. (2555). เอกสารประกอบการสอนวิชาธรรมชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. อุดรธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ภานุวัฒน์ เปรมปรี. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศน้ำจืด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประเทียบวิทยาทาน จังหวัดสระบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). การสร้างและวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือสำหรับการวิจัย. อุตรดิตถ์ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

รัชนก คะยอม. (2543). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้. อุตรดิตถ์ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วิภาภรณ์ เตโชชัยวุฒิ. (2533). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดการเรียนด้วยตนเองแบบสืบเสาะหาความรู้กับการเรียนตามปกติ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สถาพร พลราชม. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษา (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

สมพร ภูติยานันต์. (2542). การตรวจเอกลักษณ์พืชสมุนไพร: ภาคพิเศษ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สุภาภรณ์ ปิติพร. (2552). สมุนไพรเพื่อชีวิตพิชิตโรคภัย"สุขภาพวิถีไทย อภัยภูเบศร"...เพื่อการพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ : ปรมัตถ์ การพิมพ์.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw – Hill Book Company, Inc.