ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 The Effects of Problem-Based Learning Management with SSCS Problem Solving Model on Mathematical Problem Solving and Written Communication Abilities on Mathayomsuksa 6 Students

Main Article Content

นวพันธ์ เถาะรอด และคณะ Navapan Thorod and Others

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS จำนวน 6 แผน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .877 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (gif.latex?S) และการทดสอบที แบบกลุ่มตัวอย่างเดียว


             ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้  1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   2. ความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               The purposes of this research were to compare the mathematical problem solving ability and written communication ability of the mathayomsuksa 6 students after using problem-based learning management with SSCS problem solving model with 70 percent criterion. The subjects of this study were 50 students in mathayomsuksa 6 in first semester of the 2018 academic year at Banbung Uttasahakamnukhro School. They were randomly selected by using cluster random sampling. The instruments were; 6 lesson plans and mathematical problem solving and written communication abilities test with reliability of .877. The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test for one sample.


              The finding were as follows:  1. The mathematical problem solving ability of the sample group after obtaining problem-based learning management with SSCS problem solving model was higher 70 percent criterion at .05 level of statistical significance.  2. The written communication ability of the sample group after obtaining problem-based learning management with SSCS problem solving model was higher 70 percent criterion at .05 level of statistical significance.

Article Details

How to Cite
Navapan Thorod and Others น. เ. แ. (2020). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6: The Effects of Problem-Based Learning Management with SSCS Problem Solving Model on Mathematical Problem Solving and Written Communication Abilities on Mathayomsuksa 6 Students. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 15(2), 87–100. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/240753
Section
Dissertations

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกรสซิฟ.

พร้อมพรรณ อุดมสิน. (2538). การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล. (2545). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยการประยุกต์แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นหลักในการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุริวิยาสาส์น.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2554). เอกสารคำสอนวิชา 410541 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

________. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์: หลักสูตรการสอนและวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ศศิธร แม้นสงวน. (2556). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รามคำแหง.

ศิรประภา กิจอักษร. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างรูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สันนิสา สมัยอยู่. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555ก). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพ. กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย.

________. (2555ข). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย.

________. (2558ก). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

________. (2558ข). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Barrett, T., & Moore, S. (2011). New Approaches to Problem-based Learning: Revitalising Your Practice in Higher Education. New York: Routledge.

Chin, C. (1997). Promoting higher cognitive learning in science through a problem-solving approach. National Institute of Education (Singapore), 1(5), 9-10.

Krulik, S., Rudnick, J., & Milou, E. (2003). Teaching Mathematic In the Middle School. USA: Pearson National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). 2009. Focus in High School Mathematics: Reasoning and Sense Making.Reston: VA Author.

Lappan, G., and Schram, P. W. (1989). Communication and reasoning: Critical dimensions of sense making In mathematics. In New directions for elementary school mathematics (pp. 14-30). Reston, Virginia: The National Council of Teachers of Mathematics.

Mumme, J., & Shepherd, N. (1993). Communication in mathematics. In Implementing the K-8 curriculum and evaluation standard. Virginia: NCTM.

Pizzini, Edward L.; &Shepardson; Abell, Sandra K. (1989). A Rationale for and the Development of a Problem Solving Model of Instruction in Science Education. Science Education.

Sternberg, R.J. (1985). Beyond IQ: A Triarchic Theory of Human Intelligence. New York: Cambridge University Press.