คุณธรรมจำเป็นสำหรับโรงเรียนชายขอบทางภาคเหนือ The Moral in the Marginalized Schools Along the Northern Borders
Main Article Content
Abstract
คุณธรรมเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ คุณลักษณะนิสัยหรือหลักของการควบคุมพฤติกรรมของบุคคล โดยสอดคล้องกับมโนธรรมที่ตนยึดถือตามมาตรฐานทางสังคม เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ตระหนักรู้และเหมาะสมกับหลักศีลธรรมที่ถูกต้องดีงาม ซึ่งได้รับการสั่งสมหรือปฏิบัติตามกันมารวมทั้งเป็นสิ่งที่ผู้อื่นและสังคมยอมรับได้ การสร้างความตระหนักและปลูกฝังจิตสำนึกเกี่ยวกับคุณธรรมให้กับผู้เรียน ในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะโรงเรียนชายขอบทางภาคเหนือ ซึ่งมีสภาพนักเรียนที่มีความเสี่ยงและเปราะบางมากกว่าโรงเรียนทั่วไป เนื่องจากความแตกต่างของสภาพแวดล้อมและบริบทของแต่ละพื้นที่ความแตกต่างทั้งทางด้านชาติพันธุ์ ภาษา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาและประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณธรรมของผู้เรียน บทความวิชาการนี้จึงนำเสนอคุณธรรมจำเป็นสำหรับโรงเรียนชายขอบทางภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาคุณธรรมและพัฒนานักเรียนให้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมต่อไป
Moral is a good virtue governing a person’s behavior and mind, personality trait and principles of behavioral conduct. Moral is coherent with a person’s conscience based on the society standards. It connects with a mindful awareness and ability to distinguish between right and wrong according to society’s ethical standards that having been cultivated or practiced by people in the society. It is so crucial that moral needs to be cultivated and developed an awareness for students in schools, especially in the marginalized schools along the northern borders which are likely to include a higher number of at-risk and vulnerable groups of students. Due to the demographic and contextual differences such as the racial, linguistic, economic, social, religious and cultural varieties are all the major factors contributing to the moral growth of learners, this paper proposes the moral development necessary for students in the marginalized schools located in the northern borders of Thailand in order to provide a guideline for moral development and for developing the students to be the good citizens of the nation.
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
_______. (2551). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกษม วัฒนชัย. (2557). โรงเรียนคุณธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: ธนรัช.
จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2561, 13 มิถุนายน). โรงเรียนชายขอบ. เดลินิวส์, น. 25.
เจือจันทร์ จงสถิตอยู่, และรุ่งเรือง สุขาภิรมย์. (2550). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของประเทศต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
ชําเลือง วุฒิจันทร์. (2544). การจัดกิจกรรมในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้พัฒนาพฤติกรรมอุปนิสัย บุคลิกภาพ และคุณธรรมในจิตใจ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธงชัย สมบูรณ์. (2558). การศึกษาไทย ลมหายใจของคนชายขอบ. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2563, จาก http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_pdf/education-2558.pdf
นารี น้อยจินดา. (พฤศจิกายน 2555 – เมษายน 2556). คุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 7(2), 54-62.
นิตยา โปธาวงค์. (2552). เพื่อชีวิต…ความหวัง โรงเรียนชายขอบ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ร่วมกับสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.
บุญเลื่อน แสงอรุณ, ภาคิน ธราธรศิริ, สุชาติ ลี้ตระกูล, และพูลชัย ยาวิราช. (2558, กรกฎาคม-กันยายน). สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังคมพหุวัฒนธรรมตามแนวตะเข็บชายแดนภาคเหนือตอนบน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(3), 66-77.
พระเทวินทร์ เทวินโท. (2544). พุทธจริยศาสตร์. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง.
พระมหาจู่ล้อม ชูเลื่อน. (2546). ความกล้าหาญทางจริยธรรมในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในทศชาติชาดก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วิชาจริยศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542, 14 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 74ก, น. 1-41.
พระเรืองฤทธิ์ คิดข้างบน. (2558, พฤษภาคม-สิงหาคม). คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3 ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(17), 191-198.
พลพัทธชัย งามแสง เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2559, มกราคม - มิถุนายน). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนชายขอบ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 17(1), 33-46.
มูลนิธิยุวสถิรคุณ และศูนย์คุณธรรม. (2557). วิจัยและพัฒนากระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรมในโครงการกองทุนการศึกษา รุ่นที่ 1. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2558). ความเป็นครู (Self actualization for teacher). (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. (2560). คุณธรรม จริยธรรมสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.
ศูนย์คุณธรรม. (2561). โครงการสำรวจสถานการณ์คุณธรรม จริยธรรมของสังคมไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน). (2557). เอกสารชุดความรู้ “การส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน”. นนทบุรี: บริษัท อินฟินิท โกลบอลเทรด จำกัด.
ศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน). (2562). 10 ปรากฏการณ์ คุณธรรม จริยธรรม ในสังคมไทย มกราคม – มิถุนายน 2562. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 1924 สตูดิโอ จำกัด.
ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). บนเส้นทางสร้างคนดี. กรุงเทพฯ: สหมิตร.
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุขุมาล เกษมสุข. (2548). การปลูกฝังจริยธรรมแก่เด็ก. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ และศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ. (2552). การส่งเสริมคุณธรรมที่มีประสิทธิภาพ :กรณีศึกษากลุ่มเด็ก/เยาวชนและข้าราชการภาครัฐ. รายงานการวิจัย กรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ภูเขาสูงและทุรกันดาร. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2546). เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2551). สื่อ : บทบาทและความสำคัญต่อการเผยแพร่งานวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ.2560-2564) ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561, 13 มิถุนายน). โรงเรียนชายขอบ. เดลินิวส์, น. 25.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 16. (2561). ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 16 เชียงราย น่าน พะเยา และแพร่. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 17. (2561). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2562-2565 ภาค 17. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการที่ 1. (2554). แผนปฏิบัติราชการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2554 กลุ่มจังหวัดที่ 12 (ภาคเหนือตอนบน 2). เชียงใหม่: ผู้แต่ง.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Covey, S. (2004). The seven habits of highly effective people. New York: Franklin Covey.
Kant, I. (2008). On the metaphysics of morals and ethics. Translated by Thomas Kingsmill Abbott. Virginia: Wilder Publications.
Porter, F.B. (1980). The Good life: Alternative in ethnics. (h.p.): Macmillan.