การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสื่อสารด้านการเขียน ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Creative Problem Solving Process Learning Management for Developing Mathematical Creative Problem Solving and Written Communication Abilities of Mathayomsuksa II Students

Main Article Content

รสิตา วรรณรัตน์ และคณะ Rasita Wannarat and Others
อาพันธ์ชนิต เจนจิต Apunchanit Jenjit
ผลาดร สุวรรณโพธิ์ Paladorn Suwannapho

Abstract

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนชลบุรี "สุขบท" ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จำนวน 11 แผน  2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


              ผลการวิจัยพบว่า  1. ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2. ความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01.


                The purposes of this research were 1) to compare the mathematical creative problem solving ability of  mathayomsuksa II students after learning with creative problem solving process learning management with set 75% criterion. 2) to compare the written communication ability of mathayomsuksa II students after learning with creative problem solving process learning management with set 75% criterion. The sample were mathayomsuksa II students in the second semester of 2018 academic year at Chonburi Sukkhabot School, Who were selected by cluster random sampling method. The research instrument used in this research consisted of 11 lesson plans, mathematical creative problem solving and written communication abilities test (with reliability of 0.93). The data were analyzed by Mean, Standard Deviation and t-test for one sample.


              The findings were as follows;  1. The mathematical creative problem solving ability of  mathayomsuksa II students after learning creative problem solving process learning management was statistically higher than the set of criterion at the .01 level of significance.   2. The written communication ability of mathayomsuksa II students after learning creative problem solving process learning management was statistically higher than the set of criterion at the .01 level of significance.

Article Details

How to Cite
Rasita Wannarat and Others ร. ว. แ., Apunchanit Jenjit อ. เ., & Paladorn Suwannapho ผ. ส. (2020). การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสื่อสารด้านการเขียน ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2: Creative Problem Solving Process Learning Management for Developing Mathematical Creative Problem Solving and Written Communication Abilities of Mathayomsuksa II Students . SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 15(2), 73–86. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/241517
Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บริษัท ซัคเซส มีเดีย.

คชากฤษ เหลี่ยมไธสง. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการคิดแก้ปัญหาของนิสิตระดับอุดมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ฉวีวรรณ เศวตมาลย์. (2542). ศิลปะการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2537). การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. วารสารคณิตศาสตร์, 38 (434-435), 62-74.

ศศิธร แม้นสงวน. (2556). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2011ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: แอดวานซ์ พริ้นติ้ง เซอร์วิส.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558ก). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สรวงสุดา ปานสกุล. (2545). การนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์แบบร่วมมือในองค์กรบนอินเตอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สิทธิชัย ชมพูพาทย์. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของครูและนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต(สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อรวรรณ ตันสุวรรณรัตน์. (2552). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อัมพร ม้าคนอง (2547). การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

อาพันธ์ชนิต เจนจิต. (2546). กิจกรรมการเรียนการสอนเรขาคณิตโดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็นคิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chiappetta, L. & Russell, J. (1982). The relationship among logical thinking, problem solving instruction, and knowledge and application of earth science subject matter. Science Education, 66, 85-93.

Guilford, J.P. (1967). The nature of human intelligence. McGraw-Hill Book Company.

Parnes, S.J. (1976). Creative behavior guide book. New York: Charies Scribner’s Son.

Riedesel, C.Alan. (1990). Evaluation of leraning in elementary school mathematics. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice – Hall.