แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Developmental education guidelines for environmentally friendly growth

Main Article Content

วารีรัตน์ แก้วอุไร และคณะ Wareerat Kaewurai and Others

Abstract

                   การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ ในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) ศึกษาและนำเสนอแนวทางการให้การศึกษาที่สร้างความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ 3) ศึกษาผลการใช้แนวทางฯ 4) นำเสนอแนวทางการให้การศึกษาและสร้างความตระหนักในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ผู้เรียนและชุมชน ในพื้นที่ที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน ระเบียบวิธีวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน กลุ่มเป้าหมายเป็น ผู้บริหารและครูจาก 3 โรงเรียน ผู้แทนชุมชน ในพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวทางการให้การศึกษาและสร้างความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ แบบประเมินสมรรถนะการเป็นพลโลกที่ดีด้านการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม แบบประเมินความตระหนักด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


                   ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) บริบทของประเทศไทย ยังคงพบประเด็นปัญหาทางด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในหลายๆ ด้าน จึงเป็นความท้าทายที่จะสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร 2) แนวทางการให้การศึกษาและสร้างความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ให้แก่ผู้เรียนและชุมชนในพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เป็นกระบวนการที่เป็นวงจร 11 กิจกรรม 3) ผลการใช้รูปแบบฯ ทำให้ครูมีบทเรียนพัฒนานักเรียนให้เกิดความตระหนัก นักเรียนและชุมชนมีความตระหนักเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ นักเรียนมีสมรรถนะการเป็นพลโลกที่ดี 4) แนวทางการให้การศึกษา ควรบูรณาการกับการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ควรครอบคลุมการเรียนรู้ใน 3 มิติ คือ Learning ABOUT - IN - FOR Environment เชื่อมโยงเป็นองค์ความรู้ในลักษณะบูรณาการ 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

วารีรัตน์ แก้วอุไร และคณะ Wareerat Kaewurai and Others, สาขาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Curriculum and Instruction

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2555). คู่มือเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสีเขียว. ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ, อมรรัตน์ วัฒนาธร, วารีรัตน์ แก้วอุไร, เอื้อมพร หลินเจริญ. (2558). การพัฒนา หลักสูตรเสริมสร้างจิตสำนึกในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17 (1), 1-13.

เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. (2555). การพัฒนาที่ยั่งยืนในวิถีชีวิตชาวเบอร์ลิน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 8(2), 33-42.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2561, จาก http://www.nesdb. go.th/ article_attach/article_file_20170331122407.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการวิจัย แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

อนุชิต จุรีเกษ และสรสิริ วรวรรณ. (5 ตุลาคม 2559). การสร้างจิตสำนึกของการเป็นพลโลกที่ดี (Building Awareness to Be a Good Global Citizens). โครงการทรูปลูกปัญญา. สืบค้น เมื่อ 10 มิถุนายน 2561, จาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/50214/-edu-t2s1-t2-t2s2-Abbas, M. Y. & Singh, R. (2014). A survey of environmental awareness, attitude and participation amongst university students: A case study. International Journal of Science and Research (IJSR), 3(5), 1755-1760.

Benjamin et al. (2006). Social Activism in Elementary Science Education: A science, technology, and society approach to teach global warming. International Journal of Science Education, 28(4), 315-339.