การศึกษาความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่เข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ Scientific Argumentation Abilities of High School Students through Thailand Young Physicists’ Tournament

Main Article Content

ปวีณ์สุดา คงเกตุ และคณะ Paweesuda Konggate and Others
ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์ Theerapong Sangpradit

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์และศึกษาระดับความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมที่เข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ ระดับประเทศ (รอบปฐมบท) ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 24 คน จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ โดยเครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเกตพฤติกรรมการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยพฤติกรรมที่สะท้อนถึงพฤติกรรมการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 5 องค์ประกอบ โดยสังเกตพฤติกรรมการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์จากการแข่งขันการโต้วาทีฟิสิกส์สัประยุทธ์ จำนวน 12 ยก


                ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์แยกตามองค์ประกอบการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ในองค์ประกอบที่ 1 การระบุข้อกล่าวอ้าง อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 79.16 องค์ประกอบที่ 2 การให้เหตุผลสนับสนุนข้อกล่าวอ้างอยู่ในระดับดีมากร้อยละ 45.83 องค์ประกอบที่ 3 การหาหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวอ้าง อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 12.50 องค์ประกอบที่ 4 การให้เหตุผลข้อโต้แย้งฝ่ายตรงข้าม อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 12.50 และองค์ประกอบที่ 5 การหาหลักฐานสนับสนุนข้อโต้แย้งกลับ อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 33.33  และนักเรียนมีระดับความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์แบ่งตามความสามารถของนักเรียนในการให้องค์ประกอบการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์อยู่ที่ระดับที่ 5 ร้อยละ 87.5 ระดับที่ 4 ร้อยละ 8.33 และ ระดับที่ 3 ร้อยละ 4,17 


               This research is a survey study which is the researcher observed students’ scientific argumentation abilities of High School Students through Thailand Young Physicists’ Tournament. The study group were 24 students who participated in TYPT) in academic year 2018 by the purposive selection. The researcher observed students’ scientific argumentation ability with scientific argumentation observation form. Scientific argumentation consists of 5 elements. The researcher observed the students' scientific argumentation through debating of the 24-students fighting TYPT, 12 rounds of competition. The quantitative data were analyaed by the calculation of frequencies and percentages. The researcher observed the scientific argumentation ability by using the scientific argumentation observation form to tally the ability occurred.


                The results were as follows: The students had Scientific Argumentation ability is collected by scientific argumentation abillity observation form which consist of 5 elements. The most of students got 79.16 percent at a very good level in the claim, 45.83 percent at a very good level in the warrant, 45.83 percent at a good level in the evidence, 37.50 percent at a fair level in the counter argument and 33.33 percent at a good level in the supportive argument. The students had Scientific Argumentation ability. The most of students got 87.5 percent at level 5, 8.33 percent at level 4 and 4.17 percent at level 3.  

Article Details

How to Cite
Paweesuda Konggate and Others ป. . ค. แ., & Theerapong Sangpradit ธ. . แ. (2020). การศึกษาความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่เข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์: Scientific Argumentation Abilities of High School Students through Thailand Young Physicists’ Tournament. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 15(3), 75–88. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/241909
Section
Dissertations

References

กฤษฎา ทองประไพ. (2559). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2 ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่อง กับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นฤมล สุวรรณ์จันทร์ดี. (2553). STEM กับ ฟิสิกส์สัประยุทธ์ (IYPT). วารสารฟิสิกส์ไทย, 29(4), 26-30.

บุรีรัตน์ สือพัฒธิมา. (2558). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ประภา สมสุข. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์แบบ 2I3C สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

พัชราภรณ์ บุณยทรรศนีย์. (2558). การพัฒนาทักษะการอภิปรายโต้แย้ง เรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โดยใช้บริบทเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พัฒนวงศ์ ดอกไม้. (2555). การเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนผสมผสานกับรูปแบบการเรียนปกติที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ที่มีผลการเรียนฟิสิกส์แตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

พรเทพ จัทรราอุกฤษฎ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการรูปแบบการสืบสอบแบบโต้แย้งและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แบบจา ลองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการรู้วิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนภาควิชาหลักสูตรและการสอน). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สันติชัย อนุวรชัย. (2553). ผลของการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการสอนสืบสอบร่วมกับกลวิธีการโต้แย้งที่มีต่อความสามารถในการสร้างคา อธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์วิทยาศาสตร์ (ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อัศวิน ธะนะปัด. (2558). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ในหน่วยการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อานุภาพ พ่วงสมจิตร.(2559). การพัฒนาทักษะการอภิปรายโต้แย้ง เรื่อง สารชีวโมเลกุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยบริบทเป็นฐาน. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Acara, O., L. Turkmen, and A. Roychoudhury. (2010). Student Difficulties in Socio-scientific Argumentation and Decision-making Research Findings: Crossing the borders of two research lines. International Journal of Science Education, 32(9), 1191-1206.

Erduren, S., Simon, S., และ Osbone, J. (2004). TAPping into Argumentation: Developmentsin the Application of Toulmin’s Argument Pattern for Studying Science Discourse. International Journal of Science Education, 88, 915-933.

Kuhn, D., และ Udell, W. (2003). The Development of Argument Skills. Child Development,74(5), 1245-1260.

Lin, S. S., และ Mintzes, J. J. (2010). Learning argumentation skills through instruction in sociosciencetific issue : the effect of ability level. International Journal of Science and Mathematics Education, 8(6), 993-1018.

Sadler, and L. A. Donnelly. (2006). Socioscientific argumentation: The effects of content knowledge and morality. International Journal Science Education, 28, 1463-1488.

Sadler, T.D. (2009). Scientific literacy, PISA, and socioscientific discourse: Assessment for progressive aims of science education. Journal of Research in Science Teachong, 46(8), 909-921.

Sampson,D. and D. B. Clark. (2008). Assessment of the ways students generaye arguments in science education: Current perspectives and recommendations for future directions. Science Education, 92(3), 447-472.

Simonneaux, L. (2006). Role-play or debate to promote students’ argumentation and justification on an issue in animal transgenesis. International Journal of Science Education, 23, 903-927.