การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนปลูกไผ่เพื่อผลิตพลังงานชีวมวลในจังหวัดสระแก้ว The Feasibility Study of Investment on Growing Bamboo as a Biomass Energy in Sakaeo Province
Main Article Content
Abstract
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้านการตลาด ด้านเทคนิคในการปลูกไผ่เพื่อผลิตพลังงานชีวมวล ผลการศึกษา พบว่า จังหวัดสระแก้ว มีความเป็นไปได้ด้านการตลาดพลังงานชีวมวล เนื่องจากนโยบายของรัฐบาล มีเป้าหมายให้มีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น และใช้พลังงานที่ผลิตภายในประเทศเป็นหลัก ส่งผลให้ในปี 2560 มีการลงทุนด้านพลังงานทดแทนในพลังงานชีวมวลมากที่สุด จากผลการพยากรณ์ในปี พ.ศ. 2562-2571 พบว่า ปริมาณการใช้พลังงานชีวมวลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ๆ ละ 586.579 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ จากการประมาณศักยภาพ พบว่า จังหวัดสระแก้วมีสามารถผลิตพลังงานชีวมวลจากการปลูกไผ่ประมาณ 100,044 ตันต่อปี ซึ่งเป็นปริมาณการผลิตที่ตลาดรองรับได้ เนื่องจากตลาดมีความต้องการของพลังงานชีวมวลจำนวนมาก
ผลการศึกษา พบว่า จังหวัดสระแก้วมีความเป็นไปได้ด้านเทคนิคการใช้พลังงานชีวมวลจากไผ่ เนื่องจากการนำไผ่มาใช้เป็นพลังงานชีวมวลนิยมใช้ในรูปของชีวมวลแห้ง โดยนำไผ่มาแปรรูปด้วยเครื่องสับไม้ ซึ่งเครื่องสับไม้มีจำหน่ายในประเทศไทยหลายยี่ห้อให้เลือกตามความเหมาะกับการใช้งาน ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ใช้ชีวมวลเพื่อผลิตพลังงานในรูปของพลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า โดยขบวนการเผาไหม้ตรงและการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงชีวมวล จังหวัดสระแก้วมีปริมาณการใช้พลังงานทดแทนจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากที่สุดและเป็นพลังงานทดแทนประเภทโรงไฟฟ้าชีวมวล
This research is aimed to study the feasibility in marketing and technical of bamboo plantation for Biomass energy production. The study found that Sakaeo province is a promising Biomass production location with a high marketing potential. The Thai government has imposed policies aiming to increase alternative, domestically produced energy sources. As a result, in the year 2017 the investment in Biomass was the highest among all alternative energy sources. A forecast for the range of 2019 – 2028 indicates that the consumption of Biomass energy has increased at the rate of 586,579 thousand tons annually, equals to that of crude oil. A potentiality estimate reveals that Sakaeo province’s capacity of bamboo plantation is approximately 100,044 tons per year, which is a production volume that can be supported by the market where Biomass energy demand has been relatively high.
From this study, it is evidence that Sakaeo province is technically a good candidate for bamboo-based Biomass energy production as the process usually requires dried Biomass. The biomass, in this case bamboo, is shredded using wood cutting machine which is extensively available in Thailand, coming in various features to fit the user’s needs. Nowadays, Biomass is used to generate energy in the forms of heat and electricity. The process involves direct combustion and Biomass gas production. Sakaeo province ranks number one in consumption of alternative energy derived from alternative resource-based electricity generating program – Biomass power plant.
Article Details
References
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2558). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. กระทรวงพลังงาน.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2562). สถานการณ์พลังงานทดแทนของประเทศไทย ปี 2560. วารสารรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทย, 15 (15), 1 – 4.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2560). สถานการณ์พลังงานจังหวัดสระแก้ว โครงการบูรณาการแผนยุทธศาสตร์พลังงานระดับกลุ่มจังหวัดตามยุทธศาสตร์ประเทศ ระยะที่ 2. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2561, จาก http://www.thaienergydata.in.th download/2558/energy%20situation/%E0%B8%AA%E0%B8% A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7.pdf
เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2560). ไผ่ พืชพลังงาน อนาคตสดใส. ค้นเมื่อ มกราคม 14, 2562, จาก https://www.technologychaoban.com/ agricultural-technology/article_32821
ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก. (2557). ไผ่ : พืชพลังงานแห่งอนาคต. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22 (1), 130-136.
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2557). วิเคราะห์ประเด็นธุรกิจกระแสส่งออกชีวมวลอัดแท่งกับโอกาสสนับสนุนธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 9 2557, จาก http://www.exim.go.th/doc/newsCenter /44595.pdf
ประชาชาติธุรกิจ. (2557). ส่งออกชีวมวลอัดแท่งไปเกาหลีบูม 2 ยักษ์ “ชินคอร์ป - จัสมิน” โดดร่วมวงรุกตั้งโรงงานในพม่า. ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ. ประชาชาติธุรกิจ.
พิสิษฐ์ ศรีกัลยานิวาท. (2557). พืชพลังงาน. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.econ.tu.ac.th/oldweb/ doc/content /509/% E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94_01.pdf
มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์. (2554). ไม้โตเร็ว : พลังงานชีวมวลสร้าง (ราย) ได้ของคนไทย. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วัฒนพงศ์ ทองสร้อย. (2558). การดำเนินการด้านธุรกิจพลังงานทดแทน : การผลิตชีวมวลอัดแท่งระดับชุมชน. สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม. กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.
วัชระ ลอยสมุทร. (2558). การดำเนินการด้านธุรกิจพลังงานทดแทน : โครงการศึกษาพัฒนาระบบฐานข้อมูลศักยภาพชีวมวลในประเทศไทย. สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม. กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2554). ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของไทย. กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.
สมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่ประเทศไทย. (2562). ชีวมวล. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2562, จาก http://www.reca.or.th/library-biomass.aspx
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2562). พลังงานชีวมวล. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2562, จาก http://www.ku.ac.th/e-magazine/jun51/ know/know4.htm
สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว. (2562). ยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.sakaeo.doae.go.th /download/กลุ่มยุทธศาสตร์/ยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร.pdf