การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาเคมี เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 Development of Learning Activities on Chemistry Course on Rate of Chemical Reactions using STEM Education Approach to Learning and Innovation Skills of Students for Grade 11 Students’

Main Article Content

วธัญญู พิชญภูสิทธิ และคณะ Wathanyu Pitchayapusit and Others
เอื้อมพร หลินเจริญ Aumporn Lincharoen

Abstract

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และ3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเจียงทองพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จำนวน 29 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา  2) แบบวัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 3) แบบประเมินภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย แบบสังเกตการสื่อสาร แบบสังเกตการนำเสนองาน แบบสังเกตความร่วมมือในการทำงาน แบบประเมินผลงานโดยมีเกณฑ์การให้คะแนนเป็นแบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จำนวน 30 ข้อ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที


                   ผลการวิจัยพบว่า 


                   1. กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษามีประสิทธิภาพ 75.78/75.60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ 


                   2. ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีผลการประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งยังมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมี เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   


                   3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 


              The purposes of this research were 1) to create and study the efficiency of learning activity based on STEM Education at the criterion 75/75; 2) to implement the learning activity based on STEM Education; 3) to study the students’ satisfaction towards learning. The sample of this study consisted of 29 11th grade students in 2019 academic year at Jieng-thongpittayakom school, the secondary Education Office Service Area 30. The participants were selected by simple random sampling through cluster sampling. The research instruments consisted of 4 set with 1) The lesson plans designed basing on the learning activity based on STEM Education; 2) Learning and Innovation Skills tests; 3) The performance observation assessment form consists of Communication, Presentation, Collaboration and the student performance evaluation form with rating scales in 4 levels; 4) Rate of Chemical Reaction learning achievement test containing 30 items; and 5) The student’s satisfaction questionnaire.  The collected data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, and t-test.


                The results of research were as follows: 


                 1. The result create and study the efficiency of the learning activity based on STEM Education at high level and met efficiency at 75.78/75.60.   


                 2. The Learning and Innovation Skills mean post test score of students was significantly higher than the mean pretest score (p = .05). In addition, The achievement on Rate of Chemical Reaction mean posttest score of students was significantly higher than the mean pretest score and criterion score of 75% (p = .05).


                 3. The student’s instructional satisfaction towards learning activity was at a high level.

Article Details

How to Cite
Wathanyu Pitchayapusit and Others ว. พ. แ., & Aumporn Lincharoen เ. . ห. (2020). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาเคมี เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5: Development of Learning Activities on Chemistry Course on Rate of Chemical Reactions using STEM Education Approach to Learning and Innovation Skills of Students for Grade 11 Students’. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 15(3), 89–104. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/242025
Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2562, จาก http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=75

จิรันธนิน คงจีน. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นและการช่วยเสริมศักยภาพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

เจนจิรา สันติไพบูลย์, และ วิสูตร โพธิ์เงิน. (2561). การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิด STEAM ร่วมกับการสอนเชิงผลิตภาพเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการ และความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์, 16(3), 69-85.

ญาณี วัฒนากร. (2558). การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นแห่งศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2556). การพัฒนาแบบวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น : การประยุกต์ใช้แนวคิดการเข้าถึงคุณลักษณะที่มุ่งวัดของแบบสอบ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, และ ณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

ปรีชาญ เดชศรี, และ ปริชาติ เบ็ญจวรรณ์. (2552). การศึกษาแนวโน้มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์นานาชาติ (Trends in International Science Study 2007). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

พิชญา ดีมี. (2559). การพัฒนาแนวทางการประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน ตามแนวคิดการประเมินผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

มุกทราย บวรนิธิกุล. (2558). การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ศูนย์สะเต็มศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (ม.ป.ป). คู่มือเครือข่ายสะเต็มศึกษา. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2562, จาก STEM Thailand: http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2014/08/STEM_Manual.pdf

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). สถิติ O-NET ย้อนหลัง. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2562, จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2562, จาก http://timssthailand.ipst.ac.th/timss/reports/timss2015report

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 201-207.

สุทธิดา จำรัส. (2560). นิยามของสะเต็มและลักษณะสำคัญของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 13 - 34.

อาทิตย์ ฉิมกุล. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Bybee R. W. (2013). The Case for STEM Education: Challenges and Opportunities. Arlington: The National Science Teaching Association.

Capraro et al. (2013). STEM Project-based learning. Texas: Sense publisher.

Glass, Gene.V. (1978). Standards and Criteria. Journal of Educational Measurement, 15(4), 243-257.

Honey, M., Pearson, G., & Schweingruber, H. A. (Eds.). (2014). STEM integration in K-12 education: Status, prospects, and an agenda for research (Vol. 500). Washington, DC: NAP.

Sevil Ceylana, & Zehra Ozdilek. (2015). Improving a Sample Lesson Plan for Secondary Science Courses within the STEM Education. Procedia - Social and Behavioral Sciences, (177), 223-228.