โครงสร้างความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์การของครูในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล Structural Relationships of the Antecedents and Effects of Organizational Identification of Teachers in Institute of Vocational Education in Bangkok and Perimeter
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์การของครูในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตัวอย่างในการวิจัยเป็นครูในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 544 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัด 7 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในอยู่ตั้งแต่ 0.845-0.953 ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า โครงสร้างความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์การของครูในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์หลังจากการปรับโมเดลในระดับที่ยอมรับได้ (X2= 599.74, df= 152; p-value< 0.01, SRMR= 0.042, RMSEA= 0.070, GFI= 0.91, NFI= 0.97, CFI= 0.98, NNFI= 0.97, PNFI= 0.78) ผลการทดสอบเส้นอิทธิพลพบว่า ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์การได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และการรับรู้ชื่อเสียงจากภายนอก ซึ่งตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันอธิบายความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์การได้ร้อยละ 43 ตัวแปรพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์การและภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม รวมทั้งได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อมจากภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และการรับรู้ชื่อเสียงจากภายนอก ซึ่งตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันอธิบายความยึดมั่นผูกพันในการทำงานได้ร้อยละ 42 ตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์การและการรับรู้ชื่อเสียงจากภายนอก รวมทั้งได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อมจากจากภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และการรับรู้ชื่อเสียงจากภายนอก ซึ่งตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้ร้อยละ 52 ส่วนตัวแปรความตั้งใจออกจากวิชาชีพได้รับอิทธิพลทางลบโดยตรงจากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์การ รวมทั้งได้รับอิทธิพลทางลบโดยอ้อมจากจากภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และการรับรู้ชื่อเสียงจากภายนอก ซึ่งตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันอธิบายความตั้งใจออกจากวิชาชีพได้ร้อยละ 6
Article Details
References
คุรุสภา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.ksp.or.th/ksp2018/wp-content/uploads/2018/11/ข้อบังคับคุรุสภา-ว่าด้วยจรรยาบรรรณของวิชาชีพ.pdf
คุรุสภา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.educ.su.ac.th/images/curriculum/ข้อบังคับคุรุสภา-ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ.pdf
ปิยรัฐ ธรรมพิทักษ์. (2558). โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพหุระดับของตัวแปรเชิงเหตุและภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารที่มีผลต่อจิตลักษณะและพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการทำงานของพนักงานในองค์การเอกชน. ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ภัณฑิลา นุ่มสังข์ และสุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ. (2558). วัฒนธรรมองค์กรและทัศนคติและบรรยากาศในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษาพนักงานระดับปฏิบัติการพนักงานบริษัทในพื้นที่ย่านถนนเพลินจิต และถนนสุขุมวิท. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563, จาก http://dspace.bu.ac.th/itstream/123456789/1400/1/j_pantila.nums.pdf
วิสุทธิ์ สีนวล และเพ็ญนภา ทองคำ. (2560). รายงานการวิจัย เรื่อง โครงสร้างความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงสาเหตุของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์การที่ส่งผลต่อความยึดมั่นผูกพันในการทำงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ในเขตจังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ถ่ายเอกสาร.
ศิลป์ ชื่นนิรันดร์. (2560). การเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในองค์กร (Morality and Ethical Reinforcement in Public Organization). วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 216-225.
สมหญิง ลมูลพักตร์. (2558). ปัจจัยเชิงเหตุพหุระดับและผลของความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพการพยาบาลที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน และความตั้งใจออกจากวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
Ahmad, I., Gao, Y., & Hali, S. M. (2017). Impact of Ethical Leadership on Follower’s In-role Performance: Evidence from Pakistan. European Journal of Business and Management, 9(27), 174-185.
Aiken, L. R. (2003). Psychological Testing and Assessment. 11th ed. Boston: Allyn and Bacon.
Aleassa, H. M., & Zurigat, Z. M. (2014). Organizational Identification, Corporate Ethical Values, and Intention to Report Peers' Unethical Behavior. European Journal of Business and Management, 6(15), 76-85.
Ashforth, B. E., & Mael, F. (1989). Social Identity Theory and the Organization. The Academy of Management Review, 14(1), 20-39.
Basar, U., & Sigri, U. (2015). Effects of Teachers’ Organizational Justice Perceptions on Intention to Quit: Mediation Role of Organizational Identification. Educational Sciences: Theory & Practice. 15(1), 45-59.
Colquitt, J. A. (2001). On the Dimensionality of Organizational Justice: A Construct Validation of a Measure. Journal of Applied Psychology, 86(3), 386-400.
Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. 7th ed. New Jersey: Prentice Hall.
Hasan, M., & Hussain, M. (2015). Role of Perceived External Prestige and Organizational Justice in Organizational Identification. European Online Journal of Natural and Social Sciences, 4(3), 611-625.
Johnson, M. D., & Morgeson, F. P. (2005). Cognitive and Affective Identification in Organizational Settings. Best Paper Proceeding, 65th Annual Meeting of the Academy of Management. Honolulu, HI.
Jones, C., & Volpe, E. H. (2010). Organizational identification: Extending our understanding of social identities through social networks. Journal of Organizational Behavior. Published online in Wiley InterScience: 1-22.
Kim, M. Y., Miao, Q., & Park, S. M. (2015). Exploring the Relationship between Ethical Climate and Behavioral Outcomes in the Chinese Public Sector: The Mediating Roles of Affective and Cognitive Responses. International Journal of Business, Humanities and Technology, 5(3), 88-103.
Kose, T., & Kose, S. D. (2016). The Effect of Ethical Leadership on Perceived Organizational Identification: The Mediating Role of Ethical Climate. The International Journal of Business & Management, 4(1), 368-374.
Podsakoff, P. M., Moorman, R. H., & Fetter, R. (1990).Transformation Leader Behaviors and their Effect on Followers' Trust in Leader, Satisfaction, and Organizational Citizenship Behavior. Leader Quarterly, 1, 107-142.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Smith, C. A., Organ, D. W.; & Near, J. P. (1983). Organizational Citizenship Behavior: It's Nature and Antecedents. Journal of Applied Psychology, 68(4), 653-663.
Smith, C. L. (2012). The Perception of Organizational Prestige and Employee Engagement. Thesis, MS. (Psychology). Fort Collins: Colorado State University. Photocopied.
Terzi, A. R., et al. (2017). An Analysis of Organizational Justice and Organizational Identification Relation Based on Teachers' Perceptions. Universal Journal of Educational Research, 5(3), 488-495.
Wacker, O. (2017). Linking ethical Leadership to Employee Well-Being: The Role of Organizational Identification and Moral Uncertainty. Master Thesis, MSc. (Psychology). Faculty of Psychology and Neuroscience. Maastricht University. Photocopied.