ผลการใช้ชุดกิจกรรมการสร้างวินัยเชิงบวกตามแนวคิดการเรียนรู้โปรแอคทีฟ (Pro-Active learning) ที่มีต่อพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท The Result of the utilization of the Activity Packages which aims to develop the Positive Discipline Based on Pro-Active Learning on young children’s Emotion Development and Social Development at the Child Development Centers under Local Administration Organizations at the Mueang Chainat District, Chainat Province

Main Article Content

พัชรา พุ่มพชาติ Patchara Poompachati

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาชุดกิจกรรมการสร้างวินัยเชิงบวกตามแนวคิดการเรียนรู้โปรแอคทีฟ และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการสร้างวินัยเชิงบวกตามแนวคิดการเรียนรู้โปรแอคทีฟที่มีต่อพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกำหนดกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมต่อเนื่องตามเวลาที่กำหนด (Control-Group Interrupted Time-Series Design) (Creswell. 2003 : 169) กลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฐมวัย จำนวน 2 คน และเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน รวม 60 คนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรม แบบสังเกตพัฒนาการทางอารมณ์สำหรับเด็กปฐมวัย แบบสังเกตพัฒนาการทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย และ แบบสอบถามความพึงพอใจของครูปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ  Dependent t-test , Independent t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา


                ผลการวิจัยพบว่า  (1)  ผลการพัฒนาชุดกิจกรรม  ประกอบด้วย  องค์ประกอบของชุดกิจกรรม  คู่มือการใช้ชุดกิจกรรม และคู่มือปฏิบัติกิจกรรม ทุกองค์ประกอบมีค่าดัชนีความสอดคล้องสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยได้  (2) ผลการใช้ชุดฝึกชุดกิจกรรม พบว่า 1) พัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรม โดยใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม 2) พัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรม โดยใช้ชุดกิจกรรมใน 4  ระยะ มีพัฒนาการสูงขึ้นอย่างเป็นลำดับ  3) พัฒนาการทางอารมณ์ และสังคมระหว่างเด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองสูงกว่าเด็กปฐมวัยในกลุ่มควบคุม และ 4) ครูมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก


                 This study was aimed to develop the activity packages  which aims to develop the Positive Discipline Based on Pro-Active Learning, and 2) examine the influences of using  the activity packages on young children’s Emotion Development and Social Development The study employed a control-group interrupted time-series design (Creswell. 2003 : 169), The participants are 2 preschool teachers, 30 pre-primary children in control group and  30 pre-primary children at the Child Development Centers under Local Administration Organizations at the Chainat Province. Multi-Stage Sampling selection was applied. The research tools were an utilization of the Activity Packages, an observation form on Emotion and Social Development to be filled by pre-primary children, and an evaluation form on the satisfaction of teachers. Data analysis was performed through percentage, mean (gif.latex?\bar{X}), standard deviation (S.D.), dependent t-test and independent t-test as well as content analysis.


                To serve the research objectives, the results included two areas. First, the effectiveness of developing this activity packages which consists of the activity package components, the guidebook on how to use the teacher toolkit, and the guidebook on practical use of the toolkit for teacher, the assessment of the relevancy of the activity packages found that all of the relevant indexes are higher than the criteria and was an effective method to develop pre-primary children . Second, after utilizing the activity packages, it is revealed that 1) The pre-primary children whose teachers utilized the activity packages have more emotion and social development after joining this experimental activity as compared to before joining 2) The pre-primary children whose teachers utilized the activity packages continuously and respectively develop higher social development after several experiments which expand over four phases from before the teachers used the toolkit, after they used the toolkit once, after they used the toolkit twice, and after the follow-up period. 3) The pre-primary children in experimental group have more emotion and social development than children in control group 4) the teachers are positive and have high satisfaction towards the activity packages.

Article Details

Section
Research Articles

References

กรรณิการ์ โยธารินทร์. (2545). พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขวัญฟ้า รังสิยานนท์. (2553). ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แม็ค.

จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2555). พัฒนาการและการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย. ใน ประมวลสาระชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัย หน่วยที่ 5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). กระบวนการสันนิเวทนาและระบบสื่อการสอน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1 – 5 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช หน้าที่ 1 – 121. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โธมัส อาร์มสตรอง. (2546). ความเก่ง 7 ชนิด: ค้นหาและพัฒนาพหุปัญญาในตน = 7 Kinds of Smart : Identifying and Developing Your Multiple Intelligences. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

เนตรชนก รักกาญจนันท์. (2559). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อเสริม สร้างทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (สาขาหลักสูตรและการนิเทศ). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ปิยวลี ธนเศรษฐกร และปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2554). 101 เคล็ดวิธี สร้างเด็กดี มีความสุข. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

พัชรา พุ่มพชาติ. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการเรียนรู้โปรแอคทีฟเพื่อเสริมสร้างเชาวน์ปัญญาและ เชาวน์อารมณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

พัชรี ผลโยธิน และดวงเดือน ศาสตราภัทร. (2555). การวัดประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย. ใน ประมวลสาระชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัย หน่วยที่ 9. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

พุทธรักษา ก้อนแก้ว. (2555). การประเมินความต้องการจำเป็นของครูในการใช้วินัยเชิงบวกกับเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการศึกษาปฐมวัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วัฒนา ปุญญฤทธิ์. (2560). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสังคม. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการศึกษาและหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 11. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ระยะยาว พ.ศ. 2550-2559. กรุงเทพฯ: วี. ที. ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). พัฒนาการเด็กปฐมวัย รากแก้วแห่งชีวิต. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้…รู้จุดเปลี่ยนประเทศไทย, 6-8 พฤษภาคม 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.

องค์การยูนิเซฟ. (2554). การวิเคราะห์สถานการณ์เด็กและสตรี พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย.

อนิวัช แก้วจำนงค์. (2552). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อริสา โสคำภา. (2551). พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานอีสปประกอบการใช้สถานการณ์จำลอง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. (สาขาการศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Bloom, Benjamin S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: Mc Graw-Hill.

Brown, J.W., Richard, B.L., & Fred, F.H. (1973). A. V. Instruction Technology, Media and Method. New York: Mc Graw - Hill.

Creswell, John W. (2003). Research Design. California: Sage.

Durrant, J. (2007). การสร้างวินัยเชิงบวก ความเข้าใจที่ถูกต้องและวิธีนำไปใช้โจน อี เดอร์แรนท์. กรุงเทพฯ: คีน มีเดีย (ประเทศไทย).

Durrant, J. (2010). Positive discipline in everyday teaching: guideline for educator. Bangkok: Save the Children Sweden.

Gardner, H. (1993). Frames of Mind : Theory of Multiple Intelligences. USA: Fontana Press.

Goleman, D. (1995). Emotional intelligence. New York, England: Bantam Books, Inc.

Plousia, M. (2008). Emotional in Children’s Art. Retrieve May 15, 2018, from http://journals.sagepub. com/doi/10.1177/1476718X08088677.

Raywyn, R. (2003). Every Child is a Gifted Child. New Zealand: Kea Press.