ข้อพิจารณาในการคัดเลือกข้อคำถามที่มีอำนาจการจำแนก

Main Article Content

บัณฑิตา อินสมบัติ

Abstract

บทคัดย่อ

อำนาจการจำแนกของข้อคำถาม (item discrimination power) เป็นสารสนเทศที่บ่งชี้ว่าข้อคำถามนั้นๆ สามารถจำแนกความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างตามคุณลักษณะที่ต้องการได้ดีเพียงใด  หากข้อคำถามนั้นสามารถจำแนกความแตกต่างได้อย่างถูกต้องแสดงว่าข้อคำถามนั้นวัดได้ตรงตามคุณลักษณะที่ต้องการ ซึ่งเรียกว่าความเที่ยงตรงรายข้อ (item validity)  โดยปกติแล้วผู้สร้างมักกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกข้อคำถามที่มีค่าอำนาจการจำแนกตั้งแต่ .20 ขึ้นไปเป็นข้อคำถามที่สามารถนำไปใช้ได้โดยเข้าใจว่าเป็นเกณฑ์ที่ใช้ได้โดยทั่วไป หากพิจารณาค่าอำนาจการจำแนกที่มีนัยสำคัญ จะพบว่ามีความสัมพันธ์กับจำนวนกลุ่มตัวอย่างและค่าความยาก กล่าวคือ หากกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนมากค่าอำนาจการจำแนกที่มีนัยสำคัญจะมีค่าน้อย แต่หากกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อยค่าอำนาจการจำแนกที่มีนัยสำคัญจะมีค่ามาก และอำนาจการจำแนกที่มีนัยสำคัญจะมีค่าสูงขึ้นหากข้อคำถามมีค่าความยากเข้าใกล้ .50 ดังนั้น ผู้สร้างจึงควรมีความรอบคอบในการพิจารณาคัดเลือกข้อคำถามที่มีค่าอำนาจการจำแนกที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถจำแนกความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างตามคุณลักษณะที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง

 

Abstract

Item discrimination power is the information indicating how well a test item can discriminate between the sample according to the set characteristics. Ability to discriminate correctly shows that the test item is valid in measuring the characteristics as specified or has item validity. Generally test item makers would set the criteria in selecting test item with the discrimination power of .20 up with an understanding that it is accepted in general. However, having another look it can be found that the significant discrimination power is correlated to the number of samples and item difficulty. That is, the bigger the number of samples, the smaller the discrimination power, and vice versa. Also, the significant discrimination power will get higher if the test item difficulty value is nearer to .50. Therefore, test item makers ought to be careful in considering which item is suitable as far as discrimination power is concerned so as to be able to discriminate between the samples according to the required characteristics correctly.

Article Details

How to Cite
อินสมบัติ บ. (2014). ข้อพิจารณาในการคัดเลือกข้อคำถามที่มีอำนาจการจำแนก. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 6(16), 1–12. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/24406
Section
Academic Articles