ผลการสอนอ่านโดยใช้ผังกราฟิกประกอบที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและเจตคติต่อการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนอ่าน โดยใช้ผังกราฟิกประกอบ ที่มีคะแนนความเข้าใจในการอ่าน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ผังกราฟิกประกอบ และเพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้ผังกราฟิกประกอบ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดธรรมจริยาวาส อำเภอบรรพตพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 32 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนภาษาไทยโดยใช้ผังกราฟิกประกอบ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน 2) แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อมีค่า ความยากง่ายตั้งแต่ .34 – .75 มีอำนาจจำแนกตั้งแต่ .29 – .55 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.69 และ 3) แบบวัดเจตคติต่อการอ่าน มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.65
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้ผังกราฟิกประกอบมีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม มีจำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 87.5 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งสูงกว่าเกณฑ์จำนวนร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้ผังกราฟิกประกอบ มีความเข้าใจในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้ผังกราฟิกประกอบมีเจตคติต่อการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research to find out the percentage of the students obtain 70 % of full score and to compare the reading comprehension and attitudes toward reading Thai subject before and after studying of Pratomsuksa VI student, who were taught reading by using Graphic Organizer. The samples were thirty two students from Pratomsuksa VI in the first semester of academic year 2010 atWattammajariyawadSchoolin Nakhon Sawan province.
The instruments used in the research were 1) The teaching reading lessons plan using Graphic Organizer, 2) The critical reading ability test with 30 items, 4 multiple choices, with Degree of difficulty from 0.34 to 0.75, the discrimination from 0.29 to 0.55, and reliability at 0.69, and 3) the attitudes toward Thai subject test with 5 level rating scale, 30 items, with reliability at 0.65
The research results were as follows:
1. 32 students who were taught reading by using the Graphic Organizer obtained scores at 70 % or above at .05 level of significance.
2. The Pratomsuksa VI students who were taught reading by using the Graphic Organizer had the critical reading ability higher score in the posttest than the pretest at the .05 level of significance.
3. The Pratomsuksa VI students’ who were taught reading by using Graphic Organizer had attitudes toward reading after being taught higher than before taught at the .05 level of significance.