ปัจจัยที่ส่งผลต่อความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 37 จังหวัดแพร่

Main Article Content

มนัสศินี ดาวแดน
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยและความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 37 จังหวัดแพร่  2) เพื่อค้นหาตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุดที่ส่งผลต่อความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 37 จังหวัดแพร่             กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2553  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 37 จังหวัดแพร่ จำนวน 349  คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบบสอบถามเกี่ยวกับการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์และปัจจัยที่ส่งผลต่อความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน  สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการวิจัยพบว่า

1. การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ทั้งหมด 4 ตัว ร่วมกันพยากรณ์         ความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 37  จังหวัดแพร่     ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ได้แก่  การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย  ความเชื่อมั่นในตน  สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนกับนักเรียน  และลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน  โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) .586 มีค่าอำนาจในการพยากรณ์ (R2) ได้ร้อยละ 34.30  ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ (SE est) ± 6.65

2. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่ามีตัวแปรพยากรณ์ 5 ตัว  สามารถร่วมกันพยากรณ์ ความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 37 จังหวัดแพร่   ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ได้แก่ ความเชื่อมั่นในตน  ลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน  การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  และสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนกับนักเรียน  มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) .580  มีค่าอำนาจในการพยากรณ์ (R2) ได้ร้อยละ 33.60 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ (SE est) ± 6.663 มีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานตามลำดับดังนี้

\hat{Y} = .675(X_{6})-.583(X_{7})+.364(X_{2})-.346(X_{4})-.291(X_{3})+83.963\hat{Z} = .509(X_{6})-.312(X_{7})+.215(X_{2})-.185(X_{4})-.180(X_{3})

 

Abstract

The purposes of this study were (1) to study factors and faithfulness among Mathayomsuksa               3 students, and (2) to investigate the best predicting variable affecting faithfulness of Mathayomsuks 3 students. The subjects used in this study were 349 Mathayomsuksa 3 students in The Secondary Educational Service Area Office 37, Phrae province, selected by stratified random sampling technique. The research instrument was a questionnaire about an ethical reasoning of faithfulness and factors affecting on the faithfulness of Mathayomsuksa 3 students. The collected data were then analyzed by means of Pearson’s Product Moment Correlation and Multiple Regression Analysis. The results of the study revealed that:

1. Regression Analysis showed that all 4 predictors, namely democratic rearing, self-confidence, interpersonal relationship between students and their peers, and future oriented characteristic and self-controlling, could predict the Mathayomsuksa 3 students’ faithfulness with the statistical significance at the .05 level. The coefficient of multiple correlation (R) was .586.  These predictors had the predictability power of 34.30 percent (R2=.343). The standard error of estimate was± 6.663

2. Stepwise Multiple Regression Analysis showed that 5 predictors, namely self-confidence, future oriented characteristic and self-controlling, democratic rearing, achievement motivation factor, and interpersonal relationship between students and their peers, could predict the Mathayomsuksa 3 students’ faithfulness with the statistical significance at the .05 level. The coefficient of multiple correlation (R) was .508. These predictors had the predictability power of 33.60 percent (R2=.336). The standard error of estimate was     ± 6.663. The prediction equations in raw score and standard score were as follows:

\hat{Y} = .675(X_{6})-.583(X_{7})+.364(X_{2})-.346(X_{4})-.291(X_{3})+83.963

\hat{Z} = .509(X_{6})-.312(X_{7})+.215(X_{2})-.185(X_{4})-.180(X_{3})

Article Details

How to Cite
ดาวแดน ม., & พานิชย์ผลินไชย เ. (2014). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 37 จังหวัดแพร่. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 6(16), 87–100. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/24422
Section
Dissertations