ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความคล่องตัวในนักกีฬาฟุตบอล
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคล่องตัวของนักกีฬาฟุตบอลระหว่างกลุ่มที่ทำการฝึกด้วยโปรแกรมพลัยโอเมตริกร่วมกับโปรแกรมปกติกับกลุ่มที่ทำการฝึกด้วยโปรแกรมปกติเพียงอย่างเดียว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาฟุตบอลชายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่มีอายุระหว่าง 19-23 ปี จำนวน 30 คน ทําการสุ่มเพื่อแบ่งกลุ่ม (Random assignment) ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมพลัยโอเมตริกร่วมกับโปรแกรมปกติของนักกีฬาฟุตบอลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กลุ่มควบคุมจะได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมปกติของนักกีฬาฟุตบอลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยเพียงอย่างเดียว ทำการทดสอบความคล่องตัวด้วยแบบทดสอบความคล่องตัว (Illinois Agility run test) ก่อนการทดลอง และภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าควอไทล์ที่ 1 (Q1) ค่าควอไทล์ที่ 3 (Q3) ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าเฉลี่ยของอันดับ (Mean Rank) ผลรวมของอันดับ (Sum of Ranks) และความเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation) ของความคล่องตัวก่อนและหลังการทดลอง และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ยู (Mann-Whitney U-test) ซึ่งกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า ความคล่องตัวในนักกีฬาฟุตบอลของกลุ่มที่ฝึกด้วยโปรแกรมพลัยโอเมตริกร่วมกับโปรแกรมฝึกปกติสูงกว่าความคล่องตัวในนักกีฬาฟุตบอลของกลุ่มที่ฝึกด้วยโปรแกรมฝึกปกติเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การฝึกโดยใช้โปรแกรมพลัยโอเมตริก ทำให้นักฟุตบอลมีความคล่องตัวสูงขึ้น
Abstract
The purposes of this research were to study and compared effect of football players agility between Plyopmetric training with normal training program and normal training program alone. Thirty subjects were male soccer players from Rajamangala University of Technology Srivijaya 19-23 years of age. Then, the supjects were randomly assigned into two groups, fifteen subjects in each group. The first group was experimental group, had been under Plyometric training with normal training programs, and second group was control group, had been under normal training program 2 hours in a day on Monday to Saturday. All subject were doing agility by Illinois Agility Test before and after eight weeks of experimental group. The obtained data were analyzed in terms of Quartile 1,Quartile 3,Median,Mean Rank,Sum of Ranks,Quartile Deviation and Statistical tests with Mann Whitney U-test for the alpha at the level of .05 (α = 0.05).
The results of this study revealed on agility in soccer players of plyometric training with normal training program group was higher than that of the training program group. The sifnificant difference was at the level of .05 . Then the plyometric training program could make higher agility.