ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

อิงอร ยวงทอง
อาภรณ์ อินเสมียน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน และ  4) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านช่อระกา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก .29 – .86 และค่าความเชื่อมั่น 0.86 แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก .21 – .71 ค่าอำนาจจำแนก .29 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่น .85  สถิตที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test

ผลการวิจัยพบว่า

1. การจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องสิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.71/84.40

2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับแหล่งเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.6401

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานโดยรวมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

The aims of This research were 1) to develop activities for Prathomsuksa 6 science project-based learning following criterion 80/80; 2) to study the effectiveness index of  activities for Prathomsuksa 6 science project-based learning; 3) to compare the achievements and the basic science skills between before and after using Prathomsuksa 6 science project-based learning. The samples of this study were 19 students of Prathomsuksa 6 in the first semester of the 2010 academic year at  BanChorakaSchoolunder Chaiyaphum Education Service Area Office 1. The tools used in this study include lesson plans for Prathomsuksa 6 science project-based learning on the topic of Organisms and Their Habitats, a 30-question achievement test with the discrimination power ranging from .29-.86 and the reliability index of .86, a 40-question science skill test with the average difficulty indices ranging from .21-.71 and the discrimination power from .29-1.00 and the whole reliability index of .85. The data was statistically analyzed by percentage, mean, standard deviation and Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test.

The findings were as follows:

1. The efficiency of using the activities for Prathomsuksa 6 science project-based learning was at                      the 85.71/84.40 level.

2. The effectiveness index of using activities for Prathomsuksa 6 science project-based learing was at  the .6401 level.

3. The statistical significance of the learning achievement and the bagic science process skills of the students after using the project-based learning was higher than those before using at the .05 level.

Article Details

How to Cite
ยวงทอง อ., & อินเสมียน อ. (2014). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 6(16), 113–124. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/24425
Section
Dissertations