การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ปีการศึกษา 2546 -2553)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิทยานิพนธ์แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเพื่อศึกษาการเผยแพร่และการนำผลการวิจัยจากวิทยานิพนธ์ไปใช้ วิธีการวิจัยใช้การวิจัยเอกสาร การวิเคราะห์เนื้อหาและการสำรวจ เครื่องมือการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลและแบบสำรวจ ประชากร ได้แก่ วิทยานิพนธ์และมหาบัณฑิตแขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช ปีการศึกษา 2546 - 2553 จำนวน 83 ชื่อเรื่อง และมหาบัณฑิตที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 83 คน
ผลการวิจัยพบว่า
วิทยานิพนธ์แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวนสูงสุดมีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ รองลงมาได้แก่ การใช้สารสนเทศ/แหล่งสารสนเทศ/ทรัพยากรสารสนเทศ วิธีการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา และการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือการวิจัยที่ใช้คือแบบสอบถามและสถิติที่ใช้ คือสถิติพรรณนา ด้านการเผยแพร่และการนำผลการวิจัยจากวิทยานิพนธ์ไปใช้ ผลการวิจัยพบว่าวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการเผยแพร่ ลักษณะการเผยแพร่วิทยานิพนธ์จำนวนสูงสุดคือการนำเสนอในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา และมีการนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ศึกษา แต่ยังเป็นส่วนน้อย
Abstracts
This research aimed to analyze master’s degree theses in information science,SchoolofLiberal Arts, Sukhothai Thammathirat open University and to study the dissemination and application of theses’ findings. Documentary research, content analysis and survey method were conducted, using data collection form and questionnaire. Population were eighty three master’s degree theses and graduates in information science,Schoolof Liberal Arts, STOU.
It was found that the highest number of master’s degree theses in information science was in the area of information system development, followed with the use of information, information sources and resources, and the lowest number was in the area of information/information resources. Research methodology most used was research and development, followed with survey method. Research instrument were documentary form and questionnaire. Descriptive statistical analysis were most used. In terms of dissemination and application of theses findings, it was found that most theses were not disseminated. Presentation of research findings in the graduate research conference was the most used for those who disseminate their research findings. In addition, application of theses to work development was found but still less.