การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

Main Article Content

เดชา พวงงาม
นิพนธ์ ศุขปรีดี
บัญญัติ จันทน์เสนะ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้และ 3) เสนอแนะการนำรูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่พัฒนาขึ้น  ไปใช้ประโยชน์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตรวจสอบ ข้อมูลแบบสามเส้า การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุป

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจุบัน อบจ.ยังมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในระดับน้อยยกเว้นด้านการบริหารงานวิชาการ และการบริหารงบประมาณที่มีส่วนร่วมระดับปานกลาง ปัญหาและอุปสรรคของการเข้าไปมีส่วนร่วมที่สำคัญคือ ระเบียบว่าด้วยงบประมาณไม่เอื้อ ระบบการประสานความร่วมมือไม่ชัดเจน ขาดข้อมูลความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษา และอบจ. ยังไม่มีความพร้อมในงานด้านการศึกษาเท่าที่ควร

2. ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องการให้ อบจ. เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากกว่าที่เป็นอยู่ในทุกด้านโดยเฉพาะการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการจัดการศึกษา การจัดระบบงานความร่วมมือ การศึกษาความต้องการจำเป็นทางการศึกษา และการพัฒนาความพร้อมในการจัดการศึกษาของ อบจ.

3. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของ อบจ.ที่เหมาะสมและเป็นไปได้มี 3 รูปแบบ คือ (1) การจัดการศึกษาเองตามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาจังหวัด (2) การร่วมจัดการศึกษาตามความต้องการของผู้เกี่ยวข้องและประชาชน และ (3) การสนับสนุนการจัดการจัดการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพเด็ก เยาวชน และประชาชน โดยมีการบริหารจัดการและเงื่อนไขความสำเร็จเป็นกลไกการขับเคลื่อนที่สำคัญ

4. การนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ปฏิบัติ จะต้องจัดโครงสร้างการบริหารและระบบงานความร่วมมือจัดตั้งคณะกรรมการร่วมจัด ให้มีองค์กรความร่วมมือระดับจังหวัด  สร้างค่านิยมร่วมในการจัดการศึกษา  ติดตามประเมินผลความร่วมมือและจัดการความเสี่ยงที่จะเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของ อบจ.

 

Abstract

The aims of this research were to 1) study the activities, problems and needs on educational administration participation of provincial administrative organization, 2) develop a participative model for education administration of provincial administrative organization and 3) propose how to implement the participative model for education administration of provincial administrative organization. Data was collected by means of questionnaire, interview, focus group and model seminar. Quantitative data was analyzed by the package computer program and the frequency, percentage, mean and standard deviation were used for statistical analysis and the qualitative data was verified by triangulation technique, content analysis and analytic induction method.

The research results were

1. The participative level was at the least except academic management and fiscal management, at the moderate. The important participative problems were unsupported fiscal law, unclear participative system, lack of education needs and unaware of education of the provincial administrative organization.

2. Stakeholders’ needs of the provincial administrative organization in educational administration were at the most, especially needs on school fiscal support, participative system, education needs for provincial development, and development of provincial administrative organization readiness for education management.

3. The Participative Model for Education Administration of Provincial Administrative Organization were of 3 main strategies: education management for province development; education co-operation to meet the people’s need and education support to improve youth and people quality.

4. The implementation of the Participative Model for Education Administration of Provincial Administrative Organization was based on 6 main methods: to build administrative structure and system; to promote co-operative committee; to have provincial participative office; to build participative shared value; to evaluate the cooperation continuously, and to manage administrative risks.

Article Details

Section
Dissertations