การพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลายกรด – เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ธันยาภรณ์ กองสิงห์
บัญญัติ ชำนาญกิจ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลายกรด – เบส  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลายกรด – เบส  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ในระดับ สูง ปานกลาง และต่ำ ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และ 5) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์

         เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลายกรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลายกรด-เบส เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.40 – 0.80  ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.50 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75 3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.78 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลองม่วง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 31 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.18/80.11

2. ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.72

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอน  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยา-ศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ในระดับ สูง ปานกลาง และต่ำ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ มีเจตคติต่อวิชาวิทยา- ศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

The purposes of this study were 1) to construct and investigate the effectiveness of science instructional package with efficiency criterion of 80/80, 2) to study the valued effectiveness index of the instructional package in science, 3) to compare the achievement in science of Matthayomsuksa 1 students before and after being taught by using the instructional package, 4) to compare the achievement between Matthayomsuksa 1 students who were high, medium and low in science after being taught by using the instructional package, and 5) to compare the attitudes towards science of Matthayomsuksa 1 students before and after being  taught by using the instructional package in science.

The research tools comprised 1) the instructional package in science on acid-base solution for Matthayomsuksa 1 students, 2) the science achievement test on acid-base solution with 4 choices and 30 items, the degree of difficulty between 0.40 – 0.80, the discrimination power between 0.20 – 0.50 and the reliability index of 0.75, and 3) the science attitudes test with rating scale, having the reliability index of 0.78.

The samples in this research were 31 Matthayomsuksa 1 students ofBanKlongmuangSchoolstudying in the first semester of the academic year 2011.

The research findings were as follows:

1. The developed instructional package in science had the efficiency value of 81.18/80.11.

2. The developed instructional package in science had the valued effectiveness index of 0.72.

3. Matthayomsuksa 1 students taught by using the instructional package got science achievement after learning higher than that before learning with the statistical significance at the .05 level.

4. The differences between students who were high, medium and low in science achievement were statistically significant at the .05 level.

5. The attitudes of the Matthayomsuksa 1 students taught by using the instructional package after being taught were higher than those before learning with the statistical significance at the .05 level.

Article Details

How to Cite
กองสิงห์ ธ., & ชำนาญกิจ บ. (2014). การพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลายกรด – เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 6(17), 57–70. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/24438
Section
Dissertations