ผลการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความสามารถในการเตะหันหลังถีบของนักกีฬาเทควันโด

Main Article Content

ภิญโญ โชติรัตน์
นทรา กล้าณรงค์
ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความสามารถในการเตะหันหลังถีบของนักกีฬาเทควันโด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเทควันโดระดับสายดำของเทควันโดยิม สงขลา จำนวน 24 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 12 คน ด้วยวิธีสุ่มแบ่งกลุ่ม (Random Assignment)  กลุ่มทดลองฝึกด้วยโปรแกรมฝึกพลัยโอเมตริกร่วมกับโปรแกรมฝึกท่าเตะหันหลังถีบปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมฝึกด้วยโปรแกรมฝึกท่าเตะหันหลังถีบปกติ  ใช้เวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 90 นาที ก่อนการฝึกทดสอบความสามารถในการเตะหันหลังถีบด้วยแบบทดสอบของต่อศักดิ์  คล้ายขยาย จากนั้นจึงเริ่มทำการฝึกตามโปรแกรม หลังการฝึกทำการทดสอบนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่ามัธยฐาน (Median) ผลรวมอันดับ (Sum of Ranks) อันดับเฉลี่ย (Mean Rank) และความเบี่ยงเบนควอไทล์(Quartile deviation ) ของคะแนนที่ได้จากการทดสอบทั้งสองกลุ่ม  ทดสอบความแตกต่างของคะแนนที่ได้ระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองด้วยสถิติทดสอบ  Mann – Whitney U Test

ผลการวิจัยพบว่านักกีฬาที่ฝึกด้วยโปรแกรมพลัยโอเมตริกมีความสามารถในการเตะหันหลังถีบสูงกว่านักกีฬาที่ฝึกด้วยโปรแกรมฝึกท่าเตะหันถีบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  สรุปได้ว่า การฝึกโดยใช้โปรแกรมพลัยโอเมตริกทำให้ความสามารถในการเตะหันหลังถีบของนักกีฬาเทควันโดสูงขึ้น

 

Abstract

The purpose of this research was to study and compare the effect of plyometric training onTaekwondo athletes back kick. Twenty – four subjects were black belt taekwondo athletes of songkhla Taekwondo gym. Twelve subjects were randomly assigned as the control group. The experimental group had been under plyometric training with back kick and the control group was trained with normal back kick, time to trained for 8 weeks of 3 days with 90 minutes per day. Then a pre-test of  back kick by Torsak  Klaykayai Test was given before the start of the training program. After training the post-test results were analyzed in terms of Median, Sum of Ranks, Mean Rank, and Quartile deviation. Then the obtained data score were treated to find the difference by using the Mann – Whitney   U test.

The results of data analysis experience that the experimental group had higher ability in back kick than that of the control group by Mann – Whitney U test for statistical significant difference at the level of .05. In concision plyometric training with back kick can make back kick best for Taekwondo athletes.

Article Details

Section
Dissertations