การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เส้นขนาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ทวี ไวยมิตรา
นวลศรี ชำนาญกิจ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เส้นขนาน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เส้นขนาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4) ศึกษาจำนวนนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 5) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ คือ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เส้นขนาน ซึ่งมีประสิทธิภาพ 86.49/82.60 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.38-0.78 มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.40- 0.75 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระ และการทดสอบสัดส่วน

ผลการวิจัยพบว่า

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เส้นขนาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 86.49/82.60 ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เส้นขนานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.71 ซึ่งมีค่าดัชนีประสิทธิผลมากกว่า 0.5

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เส้นขนาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความคงทนในการเรียนรู้

 

Abstract

The purposes of this study were to 1) develop a Computer - Assisted Instruction (CAI) lesson on Parallel Line for Mathayomsuksa 2 students, 2) study the effectiveness Index (E.I.) of the CAI lesson on Parallel Line for Mathayomsuksa 2 students, 3) compare the learning achievement in Mathematics before and after learning through a CAI lesson of Mathayomsuksa 2 students, 4) study number of students who obtained 70 percent of total scores through a CAI lesson and 5) study learning retention through a CAI lesson of Mathayomsuksa 2 students.

The sample of research were 40 Mathayomsuksa 2 students at Huaynamhom wittayakarn school, Chumtabong district, Nakhonsawan province. The experiment was conducted during the school, the second semester of the 2010 academic year. They were all chosen by the cluster random sampling method.

The research tool comprised 1) the CAI lesson on Parallel Line with efficiency at 86.49/82.60 and 2) the learning achievement test with content validity and difficulty between 0.38 – 0.78, degree of discrimination between 0.40 – 0.75 and the coefficient of reliability at 0.83. The collected data were analyzed by t-test for dependent samples and proportion distribution.

The findings of this research were as follows:

1.  The CAI lesson on Parallel Line for Mathayomsuksa 2 students had efficiency at 86.49/82.60 non-standard at 80/80 criterion.

2.  The CAI lesson on Parallel Line for Mathayomsuksa 2 students had the E.I. at 0.71 which was more than 0.5.

3.  Students learned by using the CAI lesson on Parallel Line for Mathayomsuksa 2 students had the learning achievement significantly higher than before the experiment at .05 level of significance.

4.  The number of students higher than 70 percent learned by using the CAI lesson had the learning achievement significantly obtained 70 percent of total scores at .05 level of significance.

5.  Students learned by using the CAI lesson on Parallel Line for Mathayomsuksa 2 students had learning retention.

Article Details

Section
Dissertations