เพลงพื้นบ้านล้านนาสำหรับกีตาร์คลาสสิคของ มนูญ พลอยประดับ

Main Article Content

ชัชชญา กัญจา
ชนิดา ตังเดชะหิรัญ
วีระ พันธุ์เสือ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเพลงพื้นบ้านล้านนาสำหรับกีตาร์คลาสสิคของ มนูญ พลอยประดับ มีจุดมุ่งหมายดังนี้      1) เพื่อศึกษาประวัติชีวิตและผลงานของ มนูญ พลอยประดับ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เพลงพื้นบ้านล้านนาสำหรับการบรรเลงด้วยกีตาร์คลาสสิคของ มนูญ พลอยประดับ โดยผู้วิจัยเริ่มศึกษาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ  โน้ตเพลง แผ่นซีดี ข้อมูลจากการสัมภาษณ์จดบันทึก และวิเคราะห์เพลงพื้นบ้านล้านนาสำหรับกีตาร์คลาสสิคของ มนูญ พลอยประดับ จำนวน 7 เพลง ซึ่งเป็นเพลงที่ได้ทำการบันทึกเสียงเพื่อเผยแพร่

ผลการศึกษาพบว่า มนูญ พลอยประดับ เริ่มฝึกกีตาร์ด้วยตนเอง จากนั้นจึงเรียนกีตาร์คลาสสิคอย่างจริงจังและเรียนการเรียบเรียงเสียงประสานเพิ่มเติม ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครูสอนกีตาร์คลาสสิค ประจำอยู่ที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการ นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ผลงานของมนูญ พลอยประดับ มีทั้งการเรียบเรียงเสียงประสาน การประพันธ์ และการเปิดการแสดงกีตาร์คลาสสิคต่อหน้าสาธาณะชน เป็นครูสอนกีตาร์และนักกีตาร์คลาสสิคที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับในวงการกีตาร์คลาสสิคของประเทศไทย เมื่อ มนูญ พลอยประดับ ได้มาใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ทำให้ได้สัมผัสถึงดนตรีพื้นบ้านล้านนาอย่างเช่นวง สะล้อ ซอ ซึง จึงเกิดเป็นแนวคิดและแรงบันดาลใจในการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพื้นบ้านล้านนาสำหรับกีตาร์คลาสสิค

จากการศึกษา พบว่าช่วงเสียงที่ใช้มีความกว้างประมาณ 3 ช่วงคู่แปด มีการใช้โน้ตประดับอย่างอิสระ มีการสร้างทำนองเพิ่มเพื่อใช้เป็นบทนำ บทเชื่อม และบทจบ ใช้การเทรโมโล (การดีดรัวสาย) เพื่อเลียนจังหวะการดีดรัวของเครื่องดนตรีล้านนา มีการใช้โน้ต 3 พยางค์ 5 พยางค์ 6 พยางค์ และ 7 พยางค์ เพื่อสร้างสีสันให้กับจังหวะ การเรียบเรียงเสียงประสานอยู่ในรูปแบบของดนตรีป๊อป คลาสสิค และแจ๊ส ผสมผสานกัน มีการเปลี่ยนคอร์ดทุกๆสองจังหวะเป็นส่วนใหญ่โดยใช้บันไดเสียงที่มีโน้ตที่เกิดจากสายเปิดของกีตาร์เป็นหลัก เพื่อให้สะดวกต่อการบรรเลง พบเทคนิคการบรรเลงที่นำมาใช้ ได้แก่ การเทรโมโล การใช้เสียงก้อง การดีดแบบอาร์เปโจ การดีดแบบพิซซิคาโต เป็นต้น เนื่องจากทำนองของเพลงพื้นบ้านล้านนานั้นมีความยาวไม่มาก คีตลักษณ์ของเพลงเสเลเมา ล่องแม่ปิง น้อยใจยา รอบเวียง กุหลาบเชียงใหม่ และจ๊อย จึงอยู่ในลักษณะทำนองหลักและการแปร ส่วนเพลงสาวไหม นั้นจัดเป็นคีตลักษณ์แบบเพลงร้อง เคเดนซ์ที่นำมาใช้คือ เคเดนซ์ปิด เคเดนซ์กึ่งปิด และการเคลื่อนที่ของคอร์ดพิเศษ

 

Abstract

The main objectives of the research of Lanna folk music for classical guitar arranged by Manoon Ploypradab are as following: 1) To study Manoon Ploypradab’s biography and his work. 2) To study Lanna folk music for classical guitar playing of Manoon Ploypradab. The researcher has studied from reference documents, Manoon Ploypradab’s music sheet, audio records, his recorded interview and analyzed his published 7 pieces of Lanna folk music for classical guitar.

The result of the study found that Manoon Ploypradab learnt guitar by himself before taking it seriously on classical guitar study and arrangement lessons in additional. Now he is holding the position of classical guitar teacher atSiamKolakarnNakornpingMusicSchool, Chiang Mai. His masterpieces include music arrangements, composition and classical guitar performances in public. Manoon Ploypradab is a competent classical guitarist and instructor established byThailandclassical society. Since 1989 he moved to Chiang Mai, he’s been touched by Lanna folk songs such as Salor Sor Sueng ensemble and later brought into his inspiration to arrange Lanna folk music for classical guitar.

From the analysis the study also found that width range of 3 octaves uses grace note freely and creates additional melody as introduction, interlude and ending. Tremolo is used as rhythm imitation of Sueng’s picking. triplet, quintuplet, sextuplet and septuplet are used to create vivid rhythm. Arrangement is a music style of popular, classical and jazz mixed together. Chord is normally changed every two beats by mainly using keys which open string notes for the smooth playing. Playing techniques include such as tremolo, harmonics, arpeggio and pizzicato. Since the melody length of Lanna folk songs is not long, so music form of Sele Mao, Long Mae Ping, Noi Jai Ya, Rob Wieng, Rose of Chiang Mai and Joy are considered as theme and variations; while Sao Mai is a song form. Perfect cadence, Plagal cadence and special chord progression are used. 

Article Details

How to Cite
กัญจา ช., ตังเดชะหิรัญ ช., & พันธุ์เสือ ว. (2014). เพลงพื้นบ้านล้านนาสำหรับกีตาร์คลาสสิคของ มนูญ พลอยประดับ. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 7(19), 109–120. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/24534
Section
Dissertations