วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 42 จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดนครสวรรค์ ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) จำนวน 800 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วยโปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง พบว่า โมเดลสมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไคสแควร์ (Chi-square) มีค่าเท่ากับ 693.02 ชั้นแห่งความเป็นอิสระ (df) เท่ากับ 801 ซึ่งมีความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 1. 00 โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .97 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ .95 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) มีค่าเท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ .019 และดัชนีรากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) มีค่าเท่ากับ .00
ค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีค่ามากที่สุดคือ องค์ประกอบด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรค รองลงมาคือ ด้านผลกระทบต่อชีวิตที่เกิดจากวิธีการคิดแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรค ด้านการควบคุมสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรค และด้านความอดทนหรือทนทานต่อปัญหาหรืออุปสรรค เท่ากับ .99, .98, .95 และ .48 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purpose of this research was to study confirmatory factor analysis of adversity quotient of 6 Mathayomsuksa 6 students in Secondary Educational Service Area Office 42, Nakhon Sawan province. The samples was 800 Mathayomsuksa 6 students in Secondary Educational Service Area Office 42, Nakhon Sawan province obtained by multi-stage random sampling. The research tools were questionnaires on adversity quotient of Mathayomsuksa students 6. The data was analyzed descriptive statistic and second order confirmatory factor analysis by LISREL program.
The research results were as follows:
The second order confirmatory factor analysis found that the model validation indicated the chi – square (χ) of 693.02; degree of freedom (df) of 801; probability level (p) of 1.00; goodness of fit index (GFI) of .97; adjusted goodness of fit index (AGFI) of .95 ; Comparative of Fit Index (CFI) of 1.00 ; Root mean residual (RMR) of .019 and root mean square error of approximation (RMSEA) of .00
The most important factor loading were composite of participatory situation followed by effective situation controlling situation and endurance difficulty were .99, .98, .95 and .48 respectively with statistical significance at the level of .01