การพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา

Main Article Content

สมชัย วงษ์นายะ
ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) มีผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด 22 คน โดยในขั้นตอนที่ 1 ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อร่างกลยุทธ์การส่งเสริมการทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา จากนั้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด 22 คน พิจารณาปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมกลยุทธ์ ขั้นตอนที่ 2 นำผลคำตอบของผู้ทรงคุณวุฒิมาร่างกลยุทธ์การส่งเสริมการทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา แล้วสร้างเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิตอบเป็นรอบที่สอง แล้วนำผลมาวิเคราะห์หาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนที่ 3 ส่งแบบสอบถามกลยุทธ์การส่งเสริมการทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา ให้ผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมตอบแบบสอบถามอีกครั้งเป็นรอบที่สาม โดยมีค่ามัธยฐานค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และคำตอบเดิมของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิทบทวนคำตอบเดิมแล้วนำผลมาวิเคราะห์หาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

ผลการวิจัยพบว่า

ด้านนักศึกษามี 8 กลยุทธ์ โดยกลยุทธ์ที่มีค่ามัธยฐานสูงสุด คือ  มีการติดต่อประสานงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์อย่างสม่ำเสมอและเลือกวิธีการปรึกษาให้เหมาะสมกับลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษา  ด้านอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์มี 8 กลยุทธ์ โดยกลยุทธ์ที่มีค่ามัธยฐานสูงสุด คือ ให้ความสำคัญและเป็นกัลยาณมิตรกับนักศึกษาในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์  ด้านภาควิชา/สาขาวิชามี 9 กลยุทธ์ โดยกลยุทธ์ที่มีค่ามัธยฐานสูงสุด คือ จัดทำแผนพัฒนาการทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาที่รับผิดชอบให้ชัดเจน  ด้านคณะ/บัณฑิตวิทยาลัยมี 10 กลยุทธ์ โดยกลยุทธ์ที่มี ค่ามัธยฐานสูงสุด คือ กำหนดนโยบายและบทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการทำวิทยานิพนธ์ให้ชัดเจนและให้ถือปฏิบัติให้เป็นเอกภาพ

 

Abstract

The aim of this research was to develop a strategy to enhance the thesis conducting in the graduate level. Delphi technique was employed in this study and the data were collected from 22 experts. In step 1, related documents and research were analyzed in order to make a draft of the strategy to enhance the thesis conducting in the graduate level, and then the strategies were reviewed and improved by 22 experts. In step 2, the 5-point rating scale questionnaire was developed from the draft strategies. The experts were requested to finish the questionnaire as the second round. The data were then analyzed using median and inter-quartile range. For the last step, the questionnaires which presented median, inter-quartile range, and the second round answers of each expert were sent to the experts to review their answers.  The data were analyzed using median and inter-quartile range

The research findings were as follows:

There were eighth strategies for the student aspect. The strategy with the highest median was contacting with the advisor regularly and asking for the thesis consulting that suited the advisor’s characteristics. For the advisor aspect, there were 8 strategies and the strategy with the highest median was focusing on the advisee and being kind to the advisee. For the department / program aspect, there were nine strategies, and the strategy with the highest median was developing clear thesis conducting plan. For the faculty / graduate school aspect, there were ten strategies, and the strategy with the highest median was setting up clear policy and roles of the people involved in thesis conducting. Moreover, they should comply with those policy and roles.

Article Details

Section
Research Articles