กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

เพ็ญศรี จันทร์อินทร์
ปาจรีย์ ผลประเสริฐ
ยุภาดี ปณราช

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ 3) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 278 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง จำนวน
8 คน ประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน และตรวจสอบความถูกต้องของกลยุทธ์โดยการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1.  สภาพ ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง สภาพโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ระดับมาก ปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2.  กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มี 7 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการด้านวิชาการและวิชาชีพ 2) พัฒนาขีดความ สามารถด้านการวิจัย 3) เพิ่มขีดความสามารถในการทำผลงานทางวิชาการ 4) สนับสนุนการศึกษาในระดับปริญญาเอก 5) สร้างระบบกลไกในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการให้มีคุณธรรม จริยธรรม และการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 6) สร้างวัฒนธรรมในการทำงานอย่างเป็นระบบตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ และ7) ส่งเสริมการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

3.  ผลการประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์พบว่า โดยภาพรวมมีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ในระดับมาก

 

Abstracts

The purposes of this research were 1) to study the conditions, the problems and the needs for the academic lecturers’ development, 2) to develop the strategies for the academic lecturers’ development, and 3) to evaluate the strategies for the academic lecturers’ development of Rajabhat universities in the Lower North region. It’s the research and development. The procedure of this study included 3 steps. 1) Studying the conditions, the problems and the needs for the academic lecturers’ development of Rajabhat universities in the Lower North region. A questionnaire was used as the tool with 278 samples. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation. 2) In-depth interviewing with 8 top level administrators of Rajabhat universities in the Lower North, then inviting related 18 experts to join the workshop and assessing the accuracy of the strategies by connoisseurship with 8 experts. 3) Assessing the consistency, suitability, feasibility, and utility by 25 experts.

The findings were as follows:

1.  The results of the conditions, the problems and the needs for the academic lecturers’ development of Rajabhat universities in the Lower North region as the whole were at a high level,  where  as the conditions and the needs were at a high level and the problems were at a moderate level.

2.  The strategies for the academic lecturers development of Rajabhat universities in the Lower North region consisted of 7 aspects namely 1) supporting the academic lecturers development both in academic and career path fields, 2) developing the research capability, 3) increasing the academic paper capability, 4) supporting the doctor’s degree studying, 5) creating and performing the related system in morals and ethics, 6) creating the working system as quality standard criteria,  and 7) supporting the learning organization and long life learning.

3.  As a whole, from the results of the strategy’s consistency, suitability, feasibility, and utility assessment, it was found that the strategy’s consistency, suitability and utility were at the highest level, whereas the feasibility was at a high level.

Article Details

How to Cite
จันทร์อินทร์ เ., ผลประเสริฐ ป., & ปณราช ย. (2014). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 7(20), 13–22. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/24559
Section
Dissertations