การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกระบวนการคิดวิเคราะห์ระหว่างการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น กับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ หน่วยการเรียนรู้ย่อย เรื่อง ระบบขับถ่ายกับการรักษาดุลยภาพของร่างกายวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมฯ

Main Article Content

อุเทน ทักคุ้ม
วารีรัตน์ แก้วอุไร
สุรีย์พร แก้วเมืองมูล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และกระบวนการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และกระบวนการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกระบวนการคิดวิเคราะห์หลังเรียน ระหว่างการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นกับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนกาญจนาภิเษก วิทยาลัยเพชรบูรณ์ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม อย่างละ 1 ห้องเรียน จำนวนห้องละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น และแบบปกติ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบทดสอบวัดกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ
มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ
มีกระบวนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Abstract

The purposes of this research were to 1) compare the pretest-posttest of achievement and analytical thinking process through active learning activity, 2) compare the pretest-posttest of achievement and analytical thinking process through normal activity and, 3) compare the posttest of achievement and analytical thinking process between through active learning activity and normal activity.

The sample were Mathayomsuksa IV students who were studying in the second semester of the academic year 2011, Kanchanapisek Vittayalai Phetchabun school, obtained through the purposive sampling technique. They were divided into 2 groups: an experiment group of 40 students taught using the active learning activity, and control group of 40 students taught using the normal activity. The instruments consist of 1) active learning activity and normal activity lesson plans 2) the 20 items achievement test and 3) the 20 items analytical thinking process test. The statistics for analyzing the collected data were mean, standard deviation, and t-test.

The results of the study were as follows:

1. The students who learned through active learning activity had, after learning, higher  achievement and analytical thinking process than that before learning at the .01 level of significance.

2. The students who learned through normal activity had, after learning, higher achievement and analytical thinking process than that before learning at the .01 level of significance.

3. The students who learned through active learning activity had posttest achievement and analytical thinking process higher than those who learned through normal activity at the .01 level of significance.

Article Details

Section
Dissertations