การพัฒนากลยุทธ์การประกอบธุรกิจเคมีเกษตรในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

อำพล ทัพทวี
ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์
สมชัย วงษ์นายะ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหาการประกอบธุรกิจเคมีเกษตรในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง  2) ศึกษาปัญหา และความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับธุรกิจเคมีเกษตรในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 3) พัฒนากลยุทธ์การประกอบธุรกิจเคมีเกษตรในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง และ 4) ประเมินกลยุทธ์การประกอบธุรกิจเคมีเกษตรในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการประกอบธุรกิจเคมีเกษตรในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง พบว่า ด้านการผลิต เจ้าของธุรกิจเคมีเกษตรส่วนใหญ่จัดซื้อสินค้าเคมีเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐานสารออกฤทธิ์เต็มเปอร์เซ็นต์จากบริษัทเป็นสำคัญ ส่วนปัญหาการประกอบธุรกิจเคมีเกษตรในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง พบว่า ด้านการผลิต บริษัทผลิตสินค้าเคมีเกษตรส่งให้ร้าน
เคมีเกษตรไม่ทันตามกำหนดระยะเวลา

2.  ปัญหาของเกษตรกรเกี่ยวกับธุรกิจเคมีเกษตรในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง พบว่า ร้านเคมีเกษตรบางร้านไม่มีการแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสินค้าเคมีเกษตรไม่มีคุณภาพ

3.  กลยุทธ์การประกอบธุรกิจเคมีเกษตรในจังหวัดภาคเหนือตอนล่างที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย วิสัยทัศน์ 3 พันธกิจ 3 เป้าประสงค์ 3 ประเด็นกลยุทธ์ 7 กลยุทธ์ 22 แนวทางการพัฒนา และ 22 ตัวชี้วัด สำหรับกลยุทธ์ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาการจัดการสินค้าเคมีเกษตร และจัดเก็บสินค้าเคมีเกษตรอย่างมีคุณภาพ  กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาทำเลที่ตั้งอย่างเหมาะสม  กลยุทธ์ที่ 3 สร้างความเชื่อมั่นในสินค้าและบริการให้กับเกษตรกร  กลยุทธ์ที่ 4 สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า  กลยุทธ์ที่ 5 สร้างศักยภาพบุคลากรในการดำเนินธุรกิจเคมีเกษตรให้มีประสิทธิภาพ  กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมการบริหารจัดการเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และกลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบธุรกิจเคมีเกษตรให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินทั้งภาครัฐและเอกชน

4.  ผลการประเมินกลยุทธ์การประกอบธุรกิจเคมีเกษตรในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัด มีความสอดคล้องกันในระดับมากที่สุด และในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และระดับมากที่สุด 

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the states and problems of the agricultural chemical business, 
2) to study farmers’ problems and needs of the agricultural chemical business, 3) to develop the strategies for the agricultural  chemical business and 4) to assess the strategies for the agricultural chemical business in the lower northern provinces.

The research findings were as follows:

1. The research results of the states of the agricultural chemical business in the lower northern provinces were as  follows: For production, most of the agricultural chemical business owners bought standardized and qualified products from the companies. Whereas the problems of the agricultural chemical business were as follows: For production, the suppliers could not deliver the products to the stores in time.            

2. The farmers’ problems about agricultural chemical business in the lower northern provinces were found that  some agricultural chemical stores did not give them suggestions about pests protection and the stores sold low quality products.

3. The strategies for agricultural chemical business in the lower northern provinces consisted of the vision, 3 missions, 3 goals, 3 strategic issues, 7 strategies, 22 guidelines and 22 indicators. The 7 strategies were as follows: 1) developing agricultural chemical management and effective storage 2) developing appropriate location 3) building farmers’ trust in products and services 4) making a good relationship with the customers 5) developing personnel’s potential for the efficiency of agricultural chemicals business 6) promoting budget management efficiently and 7) developing traders’ potential to access to fund resources both from the government and private sectors.

4. The assessment of the strategies for agricultural chemical business in the lower northern provinces found the  consistency of vision, missions, goals, strategic issues, strategies, guidelines and indicators were at the highest level. Whereas  the propriety, the feasibility and the utility of strategies, guidelines and indicators were at the high and the highest levels. 

Article Details

How to Cite
ทัพทวี อ., เชาวกีรติพงศ์ ท., & วงษ์นายะ ส. (2014). การพัฒนากลยุทธ์การประกอบธุรกิจเคมีเกษตรในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 8(22), 45–58. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/24675
Section
Dissertations