การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สภาพ ปัญหา และศึกษาแนวทางแก้ปัญหา การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 1 จำนวน 108 โรงเรียน โดยมีครู ผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำนวน 108 คน เป็นผู้ให้ข้อมูล และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์แนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธี แอล เอส ดี ของฟิชเชอร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง
2. การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยภาพรวม มีสภาพการดำเนินงานไม่แตกต่างกัน ส่วนผลการเปรียบเทียบปัญหาโดยภาพรวม มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องควรสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา และควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาทุกขั้นตอน อีกทั้งนำผลการประเมินคุณภาพภายในมาพัฒนากระบวนการประกันคุณภาพของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
Abstract
The objectives of this research were to study and to compare the problems, and to find solution on internal quality assurance operation of schools under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 1 classified by school size. The samples were 108 schools under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 1 whose data were given through teachers responsible for internal quality assurance operation. Interviewees on solutions were 9 school administrators. The research instruments were a questionnaire and a semi-structured interview form. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA, and paired test by LSD of Fisher.
The finding were as follows:
1. The state of internal quality assurance operation of school on 8 dimensions were at a high level, while the problems were at a medium level.
2. The comparison on internal quality assurance operation of schools classified by school size, as a whole, found no insignificant difference, while the problems were significantly different at the .05 level.
3. The solution on internal quality assurance operation of school both administrators and related person should create understanding and awareness to the importance of education standard setting of school based on school context and should enrich all procedures stakeholders on internal quality assurance operation of school including bringing the implementing results to develop school quality assurance process continuously.