ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Factors Influencing Self-Directed Learning Behaviors of Students in Faculty of Science Ubon Ratchathani Rajabhat University

Main Article Content

ขจิตา มัชฌิมา และคณะ Kajita Matchima and Others

Abstract

           วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 119 คน กำหนดขนาดตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรม G*Power วิธีการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.817 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ  


       ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความเชื่อมั่นว่าตนเองเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ รองลงมาคือ ด้านการเปิดใจรับโอกาสที่จะเรียน สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านความคิดริเริ่มและมีอิสระในการเรียน ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาได้แก่ ประสิทธิภาพแห่งตน การมุ่งอนาคตควบคุมตน แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ การสนับสนุนจากคนรอบด้าน  และบรรยากาศทางสังคม ตามลำดับ 3) ตัวแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้แก่


gif.latex?{Y}'=4.242+.317{X_{1}}+.399{X_{2}}+.326{X_{3}}+.269{X_{4}}+.159{X_{6}}


gif.latex?Z_{y}^{'}=.201Z_{1}+.240Z_{2}+.211Z_{3}+.194Z_{4}+.107Z_{6}


ซึ่งสามารถทำนายพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาได้ร้อยละ 72.1 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .849


           The purposes of this research were to study self-directed learning behaviors of students and study factors affecting the self-directed learning behaviors of students in faculty of science, ubon ratchathani rajabhat university. The samples consisted of 119 students in faculty of science. The sample size was calculated by G*Power and were randomly selected by Stratified random sampling. A questionnaire was used for collecting data with the reliability of 0.817. The statistics in this study consists of mean, standard deviation, Pearson correlation and multiple regression analysis.


            The results were that: 1) the level of self-directed learning behaviors of students overall are at highest level, self-reliant to efficient learner at the top one, followed by opening to chance for learning, and the last one is initiative and self-sufficient for learning respectively; 2) factors affecting the self-directed learning behaviors of students are self-efficacy, locus of control, achievement motivation, encouragement from around person and social circle respectively;  3) model for factors affecting the self-directed learning behaviors of students are


gif.latex?{Y}'=4.242+.317{X_{1}}+.399{X_{2}}+.326{X_{3}}+.269{X_{4}}+.159{X_{6}}


gif.latex?Z_{y}^{'}=.201Z_{1}+.240Z_{2}+.211Z_{3}+.194Z_{4}+.107Z_{6}


which can forecast self-directed learning behaviors of students at 72.1 percent and the multiple correlation coefficient value is .849.

Article Details

Section
Research Articles

References

จีระวัฒน์ ยุวอมรพิทักษ์. (2544). ลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

เชาวลิต ตนานนท์ชัย. (2547, 17 มีนาคม). การเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับสังคมปัจจุบัน. สยามรัฐ, 7.

น้ำฝน พิทักษาไพศาล. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนรู้กับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.

ภัทราพรรณ สุขประชา. (2540). ผลของการประเมินผลงานของนักเรียนโดยตนเองและโดยครูที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระดับเดียวกัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมคิด อิสระวัฒน์. (2538). การเรียนรู้ด้วยตนเอง. วารสารการศึกษานอกระบบ, 4, 73-80.

สิริรัตน์ สัมพันธ์ยุทธ. (2540). ลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาในระบบทางไกลมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2533). จิตวิทยาการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อิทธิพล เปียทองและคณะ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, กรุงเทพฯ.

Brockett, R.G., and Hiemstra, R. (1991). Self-direction in adult learning: perspectives on theory, and practice. London: Routledge.

Knowles, M.S. (1975). Self-directed learning. New York: Association Press.

McClusky, W.F. (1986). The self-directed and attitude toward mathematics of younger and older undergraduate mathematics students. Dissertation Abstracts International, 46, 3279.

Merrian, S.B. and Caffarella, R.S. (1991). Learning in adulthood. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.