การพัฒนารูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ชนกานต์ สุวรรณทรัพย์
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต
สมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย
วนิดา ธนประโยชน์ศักดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนวิจัยและพัฒนา ดังนี้ 1) พัฒนารูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และตรวจสอบคุณภาพรูปแบบหนังสือในเบื้องต้นโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของการเรียนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนผ่องสุวรรณวิทยา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องระบบหมุนเวียนเลือด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนที่เรียนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า

1.  รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มี 2 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านโครงสร้างของหนังสือเรียนที่สอดคล้องกับรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนหลัก และส่วนหลัง และ 2) องค์ประกอบด้านเครื่องมือสนับสนุนและควบคุมการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
2.1) ความเหมาะสมของลักษณะและการจัดวางของเครื่องมือ 2.2) ความเหมาะสมของเครื่องมือกลุ่มมุมมอง 2.3) ความเหมาะสมของการใช้เครื่องมือควบคุมการนำเสนอ 2.4) ความเหมาะสมของการใช้เครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูล และ 2.5) ความเหมาะสมของการใช้เครื่องมืออื่นๆ

2.  นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องระบบหมุนเวียนเลือด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.  นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องระบบหมุนเวียนเลือด มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับ
มากที่สุด

 

Abstract

This research aimed to 1) develop the format of e-Book for science subject group learning in secondary education level, 2) compare pre- and post learning achievements of students who study through an e-Book for science subject group learning in secondary education level in the topic of  blood circulatory system and 3) study the learning satisfaction of students who study through an e-book for science subject group learning in secondary education level in the topic of blood circulatory system. In this research, the researcher developed a format of e-Book for science subject group learning in secondary education level, evaluation from 7 experts, and developed an e-Book for science subject group learning in secondary education level on blood circulatory system. Then it was experimented with the sample group which was 32 second year students of secondary school. The statistics in this research were mean, standard deviation, and dependent t-test.

The results of this research were as follows:

1.  The format of electronic book for science subject group learning in secondary education level consisted
of 2 main parts. Part 1. The structural of text book that was consistent with the science teaching way:  1) front section,  2) main section, 3) back section. Part 2. The specification of supporting and controlling tools for electronic book, namely 1) The appropriateness of characteristics and arrangement of the tool. 2) The appropriateness of the view group tools. 3) The appropriateness of using tools in controlling presentation. 4) The appropriateness of using tools to access the data. 5) The appropriateness of using other tools.

2.  Students who studied through the e-Book for science subject group learning in secondary education  level on blood circulatory system had achievement after learning higher than that before learning significantly at the .05 level.

3.  Students who studied through an e-Book for science subject group learning in secondary education level on blood circulatory system had a degree of satisfaction with using electronic book at the highest level.

Article Details

How to Cite
สุวรรณทรัพย์ ช., สิกขาบัณฑิต เ., วงษ์อยู่น้อย ส., & ธนประโยชน์ศักดิ์ ว. (2014). การพัฒนารูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 8(23), 17–30. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/24715
Section
Dissertations