ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวภาษาธรรมชาติที่มีต่อความสามารถ ด้านการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวภาษาธรรมชาติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวภาษาธรรมชาติ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัยกับคะแนนเกณฑ์ ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสระบัว อำเภอพยุหะคีรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ห้องเรียน 28 คน โดยวิธีการการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวภาษาธรรมชาติ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน 2) แบบประเมินความสามารถด้านการอ่านจำนวน 20 ข้อ และด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย จำนวน 20 ข้อซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบประเมินรายบุคคลมีค่าความเที่ยง (Reliability) ด้านการอ่าน เท่ากับ 0.91 และค่าความเที่ยงด้านการเขียน เท่ากับ 0.94
ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวภาษาธรรมชาติที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับดี
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวภาษาธรรมชาติที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวภาษาธรรมชาติที่มีต่อความสามารถด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were to 1) compare the reading ability of preschool children before and after the required whole language approach experiences provision, 2) compare the ability of preschool children before and after the required whole language approach experiences provision, and 3) compare the ability of preschool of children reading and writing scores passing 75 percent of the full score. The samples were 28 Kindergarteners 2 of Bansabua School, Phayuhakriri District, Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 1, in the second term of academic year 2012. The samples were selected by using cluster random sampling. The research instruments were 1) the experience management plans approved by three experts, 2) reading and writing abilities test with 20 items with the reading reliability coefficient of 0.91 and the writing reliability of 0.94.
The research findings were as follows:
1. The effect of experiences provision whole language approach on reading and writing abilities of preschool of children was at a good level.
2. The reading abilities of preschool children exposed to simulation was significantly increased than before the experiment at the .05 level.
3. The writing abilities of preschool children exposed to simulation was significantly increased than before the experiment at the .05 level.