ผลการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกประกอบรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

มานพ สิงห์วี
บัญญัติ ชำนาญกิจ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70  ของคะแนนเต็มขึ้นไป 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกประกอบรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และ 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมแสงชนูทิศ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 39 คน ใช้แผนแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกประกอบ รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก  จำนวน 30 ข้อ มีความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.21-0.76  มีค่าอำนาจการจำแนก อยู่ระหว่าง 0.41- 0.76  และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92

ผลการวิจัย พบว่า

1.  นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกประกอบรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม  มีจำนวนเท่ากับร้อยละ 72
2.  นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกประกอบรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05             
3.  นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกประกอบรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้มีความคงทนในการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์

 

Abstract

This research aimed to 1) study the number of students who had the physics achievement passing the 70% criterion score, 2) compare the physics achievement before and after learning with graphic organizer technique composing of inquiry method, and 3) study the physics learning retention of the students taught by using graphic organizer technique composing of inquiry method.

The sample of this research were 39 Matthayomsuksa 4 students of Chumsaengchanutit School. The research used a pretest – posttest  on one group design.

The research tools comprised 1) 5 lesson plans with certified profit quality. 2) 30 questions on physics achievement test with degree of difficulty between 0.21 – 0.76, discrimination power between 0.41 – 0.76 and reliability coefficient of 0.92.

The research findings were as follows:

1. 72% of students taught by using graphic organizer technique compose of inquiry method had physics achievement passing the 70% criterion  score.

2. The students taught by using graphic organizer technique composing of inquiry method had  physics achievement after learning higher than before learning at the .05  level of significance.

3. The students taught by using graphic organizer technique composing of inquiry method had remained the physics learning retention.

Article Details

Section
Dissertations