การพัฒนาครูด้านการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

Main Article Content

ธิดารัตน์ ถาบุตร

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 19 อำเภอสว่างแดนดินสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ด้านการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  ผู้ร่วมศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วยครูประจำการโรงเรียนหนองหลวงวิทยานุกูล จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินหลักสูตร การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลใช้วิธีพรรณนาวิเคราะห์และสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต

ผลการวิจัยพบว่า

1.   ก่อนการพัฒนาครูประจำการโรงเรียนหนองหลวงวิทยานุกูล ขาดความรู้ ความเข้าใจและขาดความมั่นใจในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น  จึงร่วมกันออกแบบกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเป็นเกลียววงรอบกิจกรรม (Interacting spiral) คือรอบที่ 1 เป็นกิจกรรมพัฒนาโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและวงรอบที่ 2 นำผลการสะท้อนจากวงรอบที่1 มาจัดกิจกรรมเพื่อวางแผนและกำหนดทิศทางพัฒนากิจกรรม 

2.  หลังจบกิจกรรมวงรอบที่ 1  แล้วพบว่า ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นได้ในระดับปานกลางคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 2.37  จากคะแนนเต็ม 5.00  เนื้อหาที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม คือ  การกำหนดโครงสร้างหลักสูตรการกำหนดเนื้อหาหลักสูตรและการจัดทำคำอธิบายรายวิชาจึงกำหนด ทิศทางการพัฒนาในวงรอบที่ 2  เป็นกิจกรรมการระดมสมอง  การมอบหมายงาน ที่กลุ่มเป้าหมายจัดทำขึ้น และกิจกรรมประเมินเอกสารหลักสูตร จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นอีกครั้ง  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูในการจัดทำหลักสูตร

3.  หลังจบกิจกรรมวงรอบที่ 2 พบว่า  ครูผู้สอนสามารถจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น  เรื่อง การทำนาได้ และผลการประเมินหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญได้คะแนนเฉลี่ย 3.13 จากคะแนนเต็ม 5.00

 

Abstract

The main purpose of this study was to develop teachers for constructing local curriculum through action research. The samples consisted of 10 in-service teachers in Nongluang Wittayanukool School, the 19th Network, Sawangdandin district and 13 teacher informants in Sakonnakhon Primary Educational Service Area Office 2, Sakon Nakorn province, Thailand. They had attended in research action activities for 2 loops of action research cycle while research operating. Three instruments consisting of questionnaire, interview format and curriculum evaluation format were used for data collection. Statistics used for analyzing and interpreting data were mean and analytical description.

The results of the study revealed the following:

1. Teachers in Nongluang Wittayanukool School, from pretest results, lacked of knowledge and understanding, and had low confidence about constructing a local curriculum. The next plan of group activities were practical training about theories and process of constructing the local curriculum.

2. Teachers, after finishing loop 1, had enough knowledge and understandings about constructing a local curriculum. The first draft of local curriculum was constructed by themselves (mean = 2.37 of 5.00). The missing components of their local curriculum were curriculum structure, contents and subject description. The next activity in loop 2 was based on brain storming technique.

3. teachers, after finishing loop 2, were able to construct their local curriculum. The main theme of curriculum was “Growing Rice Curriculum”. The mean of curriculum assessment, from the results of curriculum evaluation, was 3.13 of 5.00.

Article Details

How to Cite
ถาบุตร ธ. (2014). การพัฒนาครูด้านการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 8(24), 1–14. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/24731
Section
Research Articles