แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเอง ในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

พิสิษฐ์ จอมบุญเรือง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์ 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเองในจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย

ผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์ มี 2 รูปแบบ คือ 1) การจัดสวัสดิการสังคมที่รัฐเป็นผู้จัดให้ และ 2) การจัดสวัสดิการสังคมที่ประชาชนในท้องถิ่นเป็นผู้จัดให้

2. ปัญหา อุปสรรคในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ผลการการศึกษาพบว่า ขาดบุคลากรทางสาธารณสุข  ขาดการดูแลจากคนในครอบครัว  ขาดการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

3. แนวทางในการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเอง ผลการศึกษาพบว่า ควรมีการตรวจสุขภาพแบบครบวงจรประจำปี  การออกเยี่ยมเยือนผู้สูงอายุเพื่อดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง  การประยุกต์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อนำทางชีวิตของผู้สูงอายุ การจัดตั้งธนาคารความดี และ การจัดให้มีที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุในรูปแบบของบ้านพักชุมชน

 

Abstracts

This research adopted a qualitative approach. The objectives of this study were threefold: first, to study models of the social welfare management for the elderly people in Nakhon Sawan Province, second to study problems and obstacles of the social welfare management for the elderly people, and finally to develop and propose the guidelines to improve the social welfare for the elderly people to be self-sufficient in Nakhon Sawan Province. The key informants were the elderly people and the related people of the elderly people in Nakhon Sawan Province. The analytic induction was employed to analyze the data.

The research findings were as follows:

1. The models of social welfare management for the elderly people in Nakhon Sawan Province were provided by the government and local people.

2. The problems and obstacles of the social welfare management for the elderly people were lacking public health officers, a family’s close attention, and activities for learning continuously.

3. The study on the guidelines to develop the social welfare management for the elderly people to be self-sufficient was as follows: there should be an annual comprehensive medical examination, and a continuous visit to take care of their health. Applying doctrines in Buddhism to lead their lives, establishing a bank of goodness and providing residences for elderly people in a form of Community Nursing Home were also recommended. 

Article Details

Section
Research Articles