การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนแบบปกติในวิชา แคลคูลัส 1: กรณีศึกษานักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ระหว่างนักศึกษาที่เรียนแบบร่วมมือกับนักศึกษาที่เรียนแบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษาที่เรียนแบบร่วมมือก่อน และหลังการเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษาที่เรียนแบบร่วมมือระหว่างนักศึกษาที่มีผลการเรียนปานกลาง และอ่อน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชั้นปีที่ 1 ที่กำลังเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 3 กลุ่ม รวม 70 คน แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคเพื่อนช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนวิชาแคลคูลัส 1 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 3) แบบวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วย สถิติ Scheffe
ผลการวิจัย พบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษากลุ่มที่เรียนแบบร่วมมือสูงกว่านักศึกษากลุ่มที่เรียนแบบปกติ นักศึกษากลุ่มที่เรียนแบบร่วมมือมีเจตคติต่อการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและนักศึกษากลุ่มปานกลาง และอ่อน ที่เรียนแบบร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ไม่แตกต่างกัน
Abstracts
This research was conducted to compare 1) students’ learning achievement in Calculus 1 between the traditional learning group and cooperative learning group, 2) the students’ attitude in the comparative learning group towards studying Calculus 1 before and after learning, 3) achievement scores in Calculus 1 of the comparative learning group between moderate, and low student groups. The sample were three sections of 70 first-year School of Science and Technology students at Bangkok University, enrolled in Calculus 1 course in second semester of academic year 2012. They were divided into an experimental group with 40 students who studied with cooperative learning and a control group consisting of 30 students who studied with traditional method. The research instruments included lesson plans of Calculus 1, pre-post-learning achievement tests, and a questionnaire investigating students’ attitude towards studying Calculus 1. The data were analyzed by using the mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, and Scheffe.
The research findings revealed as follows:
The learning achievement in Calculus 1 of students in cooperative learning group was higher than that of students studying with a traditional method. In the cooperative learning group the students’ attitude towards studying Calculus 1 after learning was higher than before learning, and the groups of moderate and low students who studied with cooperative learning had no different achievement scores in Calculus 1.