การสร้างแบบวัดการรู้คิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ปวริศา วิไลลักษณ์
บัณฑิตา อินสมบัติ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบวัดการรู้คิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดนครสวรรค์ ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด และสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดในรูปตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์   และตำแหน่งสเตไนน์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตมัธยมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 567 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดที่เป็นข้อสอบเชิงสถานการณ์  แบบปรนัย 4 ตัวเลือก วิเคราะห์สถิติเชิงบรรยาย และตรวจสอบความตรง เชิงโครงสร้างของแบบวัดด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบวัดการรู้คิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดนครสวรรค์  ที่สร้างได้มีลักษณะเป็นแบบวัดสถานการณ์  5 สถานการณ์ 4 ตัวเลือก จำนวน 6 ด้าน 30 ข้อ

2. แบบวัดการรู้คิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้

2.1 ความตรงเชิงเนื้อหาจากการพิจารณาค่า IOC มีค่าระหว่าง .8-1.00  ค่าอำนาจจำแนก มีค่าระหว่าง .37-.81 และมีความเชื่อมั่น เท่ากับ .95

2.2 มีความตรงเชิงโครงสร้างทั้ง 6 องค์ประกอบ โดยมีดัชนี ดังนี้ X2 = 272.91, p = 0.49, df = 273, GFI = .97, AGF I= .95, CFI= 1.00 และ R2= .98, .95, .85, .79, .97, .73

3. เกณฑ์ปกติของแบบวัดการรู้คิด ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ผู้ที่มีการรู้คิดระดับสูง คือ สเตไนน์ที่ 7-9  มีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ตั้งแต่ 81.25 ขึ้นไป มีการรู้คิดระดับปานกลาง คือ สเตไนน์ที่ 4-6  มีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ ตั้งแต่ 25.86-77.43 และผู้ที่มีคุณลักษณะการรู้คิดระดับต่ำ คือ สเตไนน์ที่ 1-3 มีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ ตั้งแต่ 21.70 ลงมา

 

Abstract

The purposes of the research were to construct the metacognition measurement tool for Mathayomsuksa 2 students in Nakhon Sawan Province. The construct validity was examined and the construct normality of this research was done in the table of Percentile and Stanine. A sample of 567 Mathayomsuksa 2 students selected by stratified random sampling from schools under Nakhon Sawan Secondary Educational Service Area Office was used in Semester 1 during academic year 2011. The research tool was a 4-choice situational test. Descriptive statistics analysis and quality analysis measurement were done by using SPSS. LISREL 8.72 was employed for second order confirmatory factor analysis to examine the construct validity of this research.

The major findings were as follows:

1. The metacognition measurement tool for Mathayomsuksa 2 students in Nakhon Sawan was a 4-choice test of 6 elements with 30 items.

2. The metacognition measurement tool for Mathayomsuksa 2 students in Nakhon Sawan had the following aspects.

2.1 All items had content validity, with IOC of .80-1.00, discrimination power of .37-.81 and reliability coefficient of .95.

2.2 There was construct validity for all 6 factors. It’s level of significance was at .05 with the X2= 272.91, p = 0.49, df = 273, GFI = .97, AGFI = .95, CFI = 1.00, R2 = .98, .95, .85, .79, .97, .73 respectively.

3. Normality criterion of  the metacognition measurement tool for Mathayomsuksa 2 students in Nakhon Sawan can classify students into 3 levels. The students with high level sufficiency economy traits are those of Stanine 7-9, with the Percentile above 81.25. The students with medium level sufficiency economy traits are those of Stanine 4-6, with the Percentile from 25.86 to 77.43. The students with low level sufficiency economy traits are those of Stanine 1-3, with the Percentile lower than 23.70.

Article Details

How to Cite
วิไลลักษณ์ ป., & อินสมบัติ บ. (2014). การสร้างแบบวัดการรู้คิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดนครสวรรค์. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 8(24), 107–118. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/24738
Section
Dissertations