การประเมินการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

Main Article Content

ศรีรัตน์ หาญวังม่วง
บัณฑิตา อินสมบัติ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต จากการใช้หลักสูตรกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2  กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารและครูปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2  ปีการศึกษา 2556 จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ด้านปัจจัยนำเข้าในการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ ความเหมาะสมมาก ด้านที่มีระดับความเหมาะสมเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความพร้อมของผู้บริหาร ด้านที่มีระดับความเหมาะสมไม่ผ่านเกณฑ์ คือด้านความพร้อมด้านอาคารสถานที่

2. ด้านกระบวนการในการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ เหมาะสมมาก ข้อที่มีความเหมาะสมเฉลี่ยสูงสุดคือ ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ข้อที่มีความเหมาะสมไม่ผ่านเกณฑ์คือ ครูได้จัดทำวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนที่รับผิดชอบ

3. ด้านผลผลิตการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 โดยภาพรวม  นักเรียนมีระดับพัฒนาการอยู่ในเกณฑ์ดีทุกข้อ โดยด้านที่ 1 พัฒนาการด้านร่างกาย นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับพัฒนาการระดับ 3 ร้อยละ 89.06  ด้านที่ 2 พัฒนาการด้านอารมณ์ – จิตใจ นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับพัฒนาการระดับ 3 ร้อยละ 94.91 ด้านที่ 3 พัฒนาการด้านสังคม นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับพัฒนาการระดับ 3 ร้อยละ 95.57 ด้านที่ 4 พัฒนาการ ด้านสติปัญญา นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับพัฒนาการระดับ 3 ร้อยละ 83.92

 

Abstract

The purposes of this thesis were  to evaluate the input of the implementation, evaluate the process of the implementation and assess the results of the 2546 B.E. Early Childhood Education Curriculum in schools under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2.

The research samples were 222 people who were the school administrators and the teachers under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2013. The research tool was a 5-point rating scale questionnaire. The data was analyzed by percentage, mean and standard deviation.

The research results revealed as follows:

1. Input factors of the implementation of the 2546 B.E. Early Childhood Education Curriculum in schools under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 as a whole were at a good level.  The most appropriate average aspect was the aspect of the school administrators’ readiness. The aspect that didn’t meet the criteria was the preparation of buildings and maintenance.

2. The process of the implementation of the 2546 B.E. Early Childhood Education Curriculum in schools under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 as a whole was at a good level. When considering each aspect, the most appropriate item was teachers’ provision of learning experiences that complied moral and ethics. The item that did not meet the criteria was that the teachers should conduct research to improve learning management for the students they served.

3. The products of the implementation of the 2546 B.E. Early Childhood Education Curriculum in schools under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 as a whole indicated that the students’ developmental levels were all quite good. The first aspect, physical development, showed that most students were at developmental level 3 for 89.06%. The second aspect, emotional development, revealed that most students were at developmental level 3 for 94.91%. The third aspect, social development, indicated that most students were at developmental level 3 for 95.57%. The fourth aspect, cognitive development, found that most students were at developmental level 3 for 83.92%.

Article Details

Section
Dissertations