การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย และประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 21 คน และผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการประเมินคุณภาพรูปแบบจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านหลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผล
2. คุณภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยด้านหลักการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นได้อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านวัตถุประสงค์ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและมีความเป็นได้อยู่ในระดับมาก ด้านเนื้อหา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและมีความเป็นได้อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นได้อยู่ในระดับมาก ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและมีความเป็นได้อยู่ในระดับมาก ด้านการวัดผลและประเมินผล โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและมีความเป็นได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were to develop a creative thinking experience model for pre-school children and to evaluate the model ,s quality. The sample of this research consisted of 21 specialists for Delphi Technique and 5 specialists for evaluation of the model ,s quality. The data were collected by means of survey questionnaires and three - round of Delphi questionnaires. The data were analyzed by median, inter - quartile range, mean and standard diviation.
The research results indicated that the creative thinking experience model for pre-school children consisted of six components including 1) principle 2) objectives 3) content 4) instruction activities 5) instructional media 6) measurement and evaluation. The principle of the model was suitable and its possibility was at the highest level. The objectives of the model were suitable and the possibility was at the high level. The instruction activities were suitable at the highest level and the possibility was at the high level. The instructional media was suitable and the possibility was at the high level. The measurement and evaluation was suitable and the possibility was at the highest level.