การพัฒนาแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเพื่อประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมของแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยจำนวน 8 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินแนวทางการจัดประสบการณ์จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบประเมินความเหมาะสมซึ่งมีลักษณะเป็นการประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีหลักการในการจัดประสบการณ์เน้นให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมและเป็นไปตามพัฒนาการ โดยสอดแทรกในกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมการสร้างสรรค์ กิจกรรมเสริมประสบการณ์/กิจกรรมในวงกลม กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสรี/การเล่นตามมุม และเกมการศึกษา โดยมีการจัดประสบการณ์ตามแผนๆ ละ 40 นาที จำนวน 32 แผน
2. แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีความสอดคล้องกันขององค์ประกอบทุกรายการประเมินหลาย แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมีความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
Abstract
The purposes of this study were 1) to develop the learning experience approaches of early childhood students towards ASEAN community, 2) to evaluate the accordance and the suitability of learning experience approaches. The sample group of this study were 8 early childhood teachers and
3 experts in evaluation of the learning experience approaches. They were selected by using purposive sampling technique. The research instruments were structured interviewing form, the accordance evaluation form, and the suitability evaluation form. The data were analyzed by using means (), standard deviation (S.D.), and content analysis.
The results were found as the following:
1. The learning approaches for early childhood students towards ASEAN community were based on material objects and their development by being integrated in 6 activities. The 6 activities consisted of 1) movement activities, 2) creating activities, 3) supplement activities/circle activities,
4) outdoor activities, 5) independent activities/corner activities, and 6) educational games. There were 32 lesson plans which involved 40 minutes in each.
2. The results from the accordance evaluation and the suitability approach evaluation showed that the learning experience approaches were related to ASEAN community in all items. Moreover, the suitability of the learning experience approaches evaluated was at the high level and above in implementation in schools .